Edit Content
Click on the Edit Content button to edit/add the content.

บทความและข่าวสาร

ออกหน่วยตรวจสุขภาพ ณ อารามคาร์แมล นครสวรรค์ .

ออกหน่วยตรวจสุขภาพ ณ อารามคาร์แมล นครสวรรค์ .      วันที่ 23 กันยายน 2566 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC ออกหน่วยตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้ที่เข้าร่วมงานฉลองวัดอาราม ซึ่งเป็นงานประจำปีของ อารามคาร์แมล นครสวรรค์ โดยงานในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คน และได้รับเกียรติจาก เอกอัครราชฑูตวาติกัน ผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาประจำประเทศไทย และพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มี กิจบุญชู เข้าร่วมงานในครั้งนี้ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของชุมชน และได้ดูแลสุขภาพชาวจังหวัดนครสวรรค์ ตามปณิธานขององค์กร ที่ต้องการเป็นองค์กรของผู้ให้ เพื่อช่วยเหลือ คน ชุมชน และสังคม ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆ ได้ที่

กิจกรรมสัมมนา ให้ความรู้สำหรับประชาชน ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม?

กิจกรรมสัมมนา ให้ความรู้สำหรับประชาชน ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม?”      วันที่ 23 กันยายน 2566 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ และ บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC จัดกิจกรรมสัมมนา ให้ความรู้สำหรับประชาชน ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม? คุ้มไหม?(ถ้าต้องเสียเงินรักษา)โดยได้รับเกียรติจาก นพ.วศิน อวิรุทธ์นันท์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ เป็นผู้กล่าวเปิดและกล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมสัมมนาในครั้งนี้ โดย รพ.พริ้นซ์ ปากน้ำโพ มีความต้องการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจในเรื่องโรคเบาหวาน ให้กับประชาชน เนื่องจากปัจจุบันนี้ ประเทศไทย มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 3 แสนคนต่อปี และจำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นอีก 1 จังหวัดที่มีประชากรเป็นโรคเบาหวาน และมีความเสี่ยงโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มประชากรที่มีอายุน้อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพของประชากรโดยรวมของจังหวัด โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ เป็นโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีคลินิกเบาหวาน …

กิจกรรมสัมมนา ให้ความรู้สำหรับประชาชน ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม? Read More »

โรคเบาหวาน คืออะไร ?

โรคเบาหวานคืออะไร “โรคเบาหวาน” เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นโดยในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดการทำลายหลอดเลือด และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่รุนแรงมากขึ้น อาการ เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย คันผิวหนัง กระหายน้ำ น้ำหนักลด ปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีอายุมากกว่า40 ปี ผู้ที่มีโรคอ้วน พันธุกรรม ความดันโลหิตสูง กินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน พบบ่อยแค่ไหน ? องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 425 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 642 ล้านคนในปี พ.ศ. 2583 จากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 พบว่าคนไทยประมาณ 4.8 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เยื่อประสาทเสียหาย ภาวะแทรกซ้อน ทางตา โรคหลอดเลือด ส่วนปลาย โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นแผล เบาหวานที่เท้า ภาวะแทรกซ้อน ที่ไต Add a header to begin generating the …

โรคเบาหวาน คืออะไร ? Read More »

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิตได้ในระดับที่สูงกว่า ปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน คือวัดความดันโลหิตได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทโดยปัจจุบันสำรวจพบว่าคนไทยประมาณร้อยละ 20เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค อาการ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะมึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณี ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง เช่น ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงใน ไตตีบ มากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได ปัจจัยเสี่ยง ดื่มแอลกอฮออล์สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีโซเดียมสูง มีปัญหาเรื่องการนอนกรน มีประวัติเป็นโรคไต มีการใช้ยาและสารที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ประวัติครอบครัวของโรคความดันโลหิตสูงและประวัติโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ การรักษา โรคความดันโลหิตสูงที่เป็นการรักษามาตรฐานมี 2 วิธี คือ 1. การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต 2. การให้ยาลดความดันโลหิต การป้องกัน การลดน้ำหนักในผู้ที่มีนักหนักเกินหรืออ้วน การปรับรูปแบบของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ การจำกัดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหาร การเพิ่มกิจกรรมออกกำลังกาย …

โรคความดันโลหิตสูง Read More »

กิจกรรมสัมมนา ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม…คุ้มไหมถ้ารักษา

สัมมนา ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม? คุ้มไหม? (ถ้าต้องเสียเงินรักษา) รพ.พริ้นซ์ ปากน้ำโพ ขอเชิญร่วมฟังสัมมนา ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม? คุ้มไหม? (ถ้าต้องเสียเงินรักษา) บรรยายโดย นพ.ธเนศ จิราวัฒน์วรากุล อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ ในวันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. และพบกับสาระน่ารู้ ยาสมุนไพร กับ ยาแผนปัจจุบัน  กินร่วมกันได้มั้ย? กินแบบไหนให้ถูกวิธี” โดย คุณชุติมณฑน์ แก้วเกิด เภสัชกร การดูแลตัวเองใน “ผู้ป่วยเบาหวาน” ในมุมกายภาพบำบัด โดย คุณชนานับ เชี่ยวชาญ นักกายภาพบำบัด พิเศษ! สำหรับผู้โชคยดี 1 ท่าน รับบริการตรวจหลอดเลือดแดงบริเวณขา ด้วยเครื่อง “อัลตร้าซาวด์หลอดเลือด”    *เงื่อนไข : ต้องมีอายุมากกว่า 60 …

กิจกรรมสัมมนา ในหัวข้อ “เบาหวาน” รักษาไม่หายจริงไหม…คุ้มไหมถ้ารักษา Read More »

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดต่างไปจากเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเราสามารถแบ่งชนิดไขมันในเลือดแบบง่ายๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ 1. คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือ ไขมันชนิดไม่ดี เป็นชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง เพราะสามารถสะสมบริเวณผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือ ไขมันชนิดดี มีส่วนช่วยในการขนส่งและกำจัดไขมันชนิดอันตรายออก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ 2. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดการสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้เช่นกันหากมีปริมาณสูงมากๆ แม้ว่าจะมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าไขมันชนิดคอเลสเตอรอล แต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบได้ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ อาจมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดดังต่อไปนี้ เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ระดับคอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) สูง, ระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) สูง, ระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) ต่ำ, ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง หรือ อาจมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดร่วมกัน 2 อย่างขึ้นไปก็ได้ สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ? …

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ Read More »

โรค NCDs คืออะไร

โรค NCDs คืออะไร ? โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิตซึ่งจะมีการดำเนิน โรคอย่างช้าๆค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ กลุ่มโรค NCDs โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง พฤติกรรมเสี่ยงของโรค NCDs 1. รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง 2. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. สูบบุหรี่ 4. ไม่ออกกำลังกาย 5.นอนดึก การป้องกันโรค NCDs รับประทานผักและผลไม้หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่และแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ Add a header to begin generating …

โรค NCDs คืออะไร Read More »

Mommy Butler เพือนคู่คิดที่รู้ใจ คุณแม่ตั้งครรภ์

Mommy Butler เพือนคู่คิด ที่รู้ใจ คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณสุทธินาฏ เครือจันทร์ น้องแจน พร้อมดูแลให้คำปรึกษาคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์จนหลังคลอด โทร. 06 5614 7511 ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆ ได้ที่ Add a header to begin generating the table of contents โรค NCDs คืออะไร Mommy Butler เพือนคู่คิดที่รู้ใจ คุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์อุ่นใจ ให้หมอ MFM ช่วยดูแล.. text อายุรกรรม แผนกเคมีบำบัด text อายุรกรรม Palliative Care ดูแลผู้ป่วย….ระยะประคับประคอง ดูเพิ่มเติม >> Mommy Butler เพือนคู่คิด ที่รู้ใจ คุณแม่ตั้งครรภ์ คุณสุทธินาฏ เครือจันทร์ น้องแจน พร้อมดูแลให้คำปรึกษาคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์จนหลังคลอด …

Mommy Butler เพือนคู่คิดที่รู้ใจ คุณแม่ตั้งครรภ์ Read More »

ตั้งครรภ์อุ่นใจ ให้หมอ MFM ช่วยดูแล..

ทำไม? ต้องดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ โดย สูตินรีแพทย์ที่มีความชำนาญ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) ให้การดูแลตั้ังแต่ รับฝากครรภ์ ทำคลอด ดูแลหลังคลอด ดูแลและรับฝากครรภ์ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง แนะนำและให้คำปรึกษาเมื่อสงสัยหรือตรวจพบว่าทารก ในครรภ์มีภาวะผิดปกติ ตรวจอัลตราซาวด์เพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ และหาความพิการของทารกในครรภ์ ตรวจคัดกรองและวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ รักษาทารกในครรภ์ที่มีความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ได้แก่ ทารกบวมน้ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรม ของทารกในครรภ์มารดา ได้แก่ การเจาะน้ำคร่ำ การเจาะชิ้นเนื้อรก การเจาะเลือดสายสะดือทารก เป็นต้น นพ.ธีธัช อดทด สูตินรีแพทย์ เฉพาะทาง ด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) ออกตรวจ : จันทร์ – ศุกร์ 08.00- 16.30 น (วันพุธ 08.30 – 20.00 น.)และ เสาร์ที่ 1 กับ 3 ของเดือน 09.00 -12.00 น.ที่ …

ตั้งครรภ์อุ่นใจ ให้หมอ MFM ช่วยดูแล.. Read More »