Edit Content
Click on the Edit Content button to edit/add the content.

นิ่วในถุงน้ำดี อาการ การรักษา และปัจจัยเสี่ยง

นิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี อาการ การรักษา และปัจจัยเสี่ยง

นิ่วในถุงน้ำดี คืออะไร?

      เป็นชิ้นส่วนของแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี โดยชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดขึ้นจากส่วนประกอบของน้ำดี เช่น คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน
(สารให้สีในน้ำดี) เกิดการตกตะกอนเป็นผลึกมีลักษณะเป็นก้อน โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดเล็กๆเท่ากับเม็ดทรายไปจนถึงขนาดเท่าไข่ไก่และเกิดขึ้นก้อนเดียวไปจนถึงหลายร้อยก้อน เป็นโรคที่มักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปและจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 1-2 เท่าโดยผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง,ผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว,ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน,ผู้ที่มีภาวะโรคธาลัสซีเมียโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกจะมีโอกาสเป็น นิ่วในถุงน้ำดี มากกว่าคนสุขภาพปกติทั่วไ ป

อาการของนิ่วในถุงน้ำดี

อาการของ โรคนิ่วในถุงน้ำดี

     โดยทั่วไปอาการ จะไม่มีความผิดปกติแสดงให้เห็น และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช๊คร่างกาย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหาร หรือ อาหารไม่ย่อย เช่น

  • ท้องอืด,ท้องเฟ้อใต้ลิ้นปี่
  • แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • ปวดใต้ลิ้นปี่ / ชายโครงด้านขวา
  • ปวดร้าวที่ไหล่ / หลังขวา
  • คลื่นไส้อาเจียน (อาการจากถุงน้ำดีติดเชื้อ)
  • มีไข้หนาวสั่น
  • ดีซ่าน / ตัว – ตาเหลือง (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  • ปัสสาวะสีเข้ม (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  • อุจจาระสีขาว (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคนิ่วในถุงน้ำดี

  • ความอ้วน ในคนภาวะอ้วนจะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอลเนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
  • การได้รับยาลดไขมันบางชนิด ส่งผลให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการรับประทาน หรือการตั้งครรภ์ ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง

โรคนิ่วในถุงน้ำดี มีกี่ชนิด?

     ลักษณะนิ่วในถุงน้ำดีแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • นิ่วจากคอเลสเตอรอล (Cholesterol Stones) อาจเป็นสีเหลืองขาวเขียวเกิดจากการตกตะกอนไขมัน เนื่องจาคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในถุงน้ำดี
  • นิ่วจากเม็ดสี (Pigment Stones) อาจเป็นสีคล้ำดำ เกิดจากความผิดปกติ ของเลือด โลหิตจาง และตับแข็ง
  • นิ่วโคลน (Mixed Gallstones) เป็นคล้ายโคลน เหนียว หนืด เกิดจาก
    การติดเชื้อใกล้ตับ ท่อน้ำดี และตับอ่อน

ใครคือกลุ่มเสี่ยง

  • ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  • ผู้ที่ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วย โรคเลือด ธาลัสซีเมีย โลหิตจาง
  • ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์
  • ผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ
  • ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเสริมจากภาวะหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่อดอาหาร (ถือศีลอด) หรือลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  • ผู้ที่ทานยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  • ผู้ที่มีพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

การตรวจวินิจฉัย

     โดยทั่วไปการตรวจวินิจฉัย จะเป็นการการพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยการทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน ซึ่งเป็นการตรวจที่เพียงพอในการตรวจว่ามี นิ่วในถุงน้ำดี หรือไม่หรืออาจมีภาวะถุงน้ำดีอักเสบแต่ในบางกรณี เช่น การตรวจหานิ่วในท่อน้ำดี หรือการวินิจฉัยภาวะตับอ่อนอักเสบ อาจจำเป็นต้องใช้การตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ เช่น การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (X-ray) หรือ การตรวจโดยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การรักษา

     ในผู้ป่วยรายที่สามารถทำการผ่าตัดได้ แนะนำให้ “ผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก”เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการกลับเป็นซ้ำของ โรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งถือเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในการรักษา โดยการผ่าตัดสามารถ แบ่งออกได้เป็น
 2 แบบ คือ

  • การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง : ในกรณีที่มีอาการอักเสบมาก หรือมีภาวะเป็นหนอง โดยการเปิดช่องท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวายาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย การผ่าตัดวิธีนี้
    ผู้ป่วยจะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 4 วัน และต้องพักฟื้นหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • การผ่าตัดผ่านกล้อง : ซึ่งแพทย์จะทำการเจาะรูขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง เพื่อส่องกล้องให้เห็นภาพทุกมิติแล้วจึงตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออก การผ่าตัดผ่านกล้องเป็นการผ่าตัดสมัยใหม่
    ที่ทำให้แผลมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ลดการติดเชื้อ และฟื้นตัวได้เร็ว

     เมื่อผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไปแล้ว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหาร แต่ควรลดอาหารที่มีความมันสูงและรับประทานผักและเนื้อปลา มากขึ้นเพื่อให้ห่างไกลจากอาการท้องอืด และ มีสุขภาพดีในระยะยาวต่อไป

โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ มีศักยภาพในการผ่าตัดรักษา “ โรคนิ่วในถุงน้ำดี ” ได้ทั้งการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง และ การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) โดย ศัลยแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ในการผ่าตัดรักษา

         ข้าราชการสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง ในการร่วมจ่ายค่าผ่าตัดรักษา ที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพได้ทั้งแบบผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และ การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery)

ผู้ที่สามารถใช้สิทธิข้าราชร่วมจ่ายได้
  1. ข้าราชการประจำ
  2. ลูกจ้างประจำ
  3. ผู้รับเบี้ยหวัด
  4. ผู้รับบำนาญ
  5. บุคคลในครอบครัวของข้าราชการ (บิดา, มารดา, คู่สมรส และบุตร 3 คน)
ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆ ได้ที่
Share Post: