Edit Content
Click on the Edit Content button to edit/add the content.

โรคความดันโลหิตสูง

Cv-Hypertension

โรคความดันโลหิตสูง

เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิตได้ในระดับที่สูงกว่า ปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน
คือวัดความดันโลหิตได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทโดยปัจจุบันสำรวจพบว่าคนไทยประมาณร้อยละ 20
เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค

อาการ

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะมึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณี ได้แก่

  • ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง เช่น ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
  • ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงใน ไตตีบ
    มากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได

ปัจจัยเสี่ยง

  • ดื่มแอลกอฮออล์สูบบุหรี่
  • ทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
  • มีปัญหาเรื่องการนอนกรน
  • มีประวัติเป็นโรคไต
  • มีการใช้ยาและสารที่ทำให้ความดันโลหิตสูง
  • ประวัติครอบครัวของโรคความดันโลหิตสูงและประวัติโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

การรักษา โรคความดันโลหิตสูงที่เป็นการรักษามาตรฐานมี 2 วิธี คือ

1. การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต

2. การให้ยาลดความดันโลหิต

การป้องกัน

  • การลดน้ำหนักในผู้ที่มีนักหนักเกินหรืออ้วน
  • การปรับรูปแบบของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
  • การจำกัดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหาร
  • การเพิ่มกิจกรรมออกกำลังกาย
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การเลิกบุหรี่
ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆ ได้ที่

เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิตได้ในระดับที่สูงกว่า ปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน คือวัดความดันโลหิตได้มากกว่า
140 /90 มม.ปรอทโดยปัจจุบันสำรวจพบว่าคนไทยประมาณร้อยละ 20
เป็นโรคความดันโลหิตสูง และไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค

อาการ

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอาจจะไม่มีอาการใดๆ เลยก็ได้ หรืออาจจะพบว่ามีอาการปวดศีรษะมึนงง เวียนศีรษะ และเหนื่อยง่ายผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 2 กรณี ได้แก่

  • ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงโดยตรง เช่น ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองแตก
  • ภาวะแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแดงตีบหรือตัน เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอาจจะทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หลอดเลือดสมองตีบ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือหลอดเลือดแดงใน ไตตีบ
    มากถึงขั้นไตวายเรื้อรังได

ปัจจัยเสี่ยง

  • ดื่มแอลกอฮออล์สูบบุหรี่
  • ทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
  • มีปัญหาเรื่องการนอนกรน
  • มีประวัติเป็นโรคไต
  • มีการใช้ยาและสารที่ทำให้ความดันโลหิตสูง
  • ประวัติครอบครัวของโรคความดันโลหิตสูงและประวัติโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

การรักษา โรคความดันโลหิตสูงที่เป็นการรักษามาตรฐานมี 2 วิธี คือ

1. การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต

2. การให้ยาลดความดันโลหิต

การป้องกัน

  • การลดน้ำหนักในผู้ที่มีนักหนักเกินหรืออ้วน
  • การปรับรูปแบบของการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ
  • การจำกัดปริมาณเกลือและโซเดียมในอาหาร
  • การเพิ่มกิจกรรมออกกำลังกาย
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การเลิกบุหรี่
ติดตามข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆ ได้ที่
Share Post: