แพ็กเกจคลอดสิทธิข้าราชการ
ศูนย์ตรวจสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ให้บริการฝากครรภ์ ผ่าคลอด คลอดธรรมชาติเพื่อให้คุณแม่เตรียมรับลูกน้อยลืมตาดูโลก เราให้บริการ แพ็กเกจคลอดเหมาจ่ายที่คลอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายพร้อมสิทธิประโยชน์อื่นๆ มากมายเพราะช่วงเวลาของการตั้งครรภ์คือช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้าตารอมากที่สุดบางคนตื่นเต้นตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ บางคนไปตรวจ Nipt Test เพื่อเช็คสุขภาพลูกน้อยหรือ
ตรวจเพศเพราะช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ คือช่วงเวลาที่คุณแม่และทารกในครรภ์ต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง การได้รับการดูแล
โดยแพทยที่มีความชำนาญ เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) จึงมีความสำคัญอย่างมากในการดูแลแบบเชิงลึก
เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรงและทารกในครรภ์ลืมตาจะได้รับการดูแลโดยกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านทารกแรกเกิดและ
ปริกำเนิดที่สามารถให้การดูแลทันทีหากพบความผิดปกติของลูกน้อย
มาคลอดที่ปากน้ำโพดีอย่างไร
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ให้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) ที่มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์แบบเชิงลึกหรือสำหรับผู้ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยง เช่น ตั้งครรภ์ในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือ มีโรคประจำตัว เป็นต้น
เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัย และเมื่อทารกแรกเกิดจะได้รับการดูแลโดย
กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านทารกแรกเกิด และปริกำเนิด ที่สามารถให้การดูแลได้ทันทีหากพบความผิดปกติของลูกน้อย
สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม
เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
- บริการคลอดเหมาจ่ายครอบคลุมค่าแพทย์ ค่าห้องพักค่าตรวจร่างการลูกน้อยตั้งแต่แรกคลอด
- แพ็กเกจคลอดราคาเหมาจ่ายไม่ครอบคลุมถึงโรคประจำตัวที่ต้องใช้ยาหรือหากเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างคลอด
- ผู้ที่มีสิทธิมีชื่อยู่ในฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลาง สามารถเช็คได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ
- การผ่าตัดคลอดใช้สิทธิได้ตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด / กรณีที่มีข้อบ่งชีทางการแพทย์
- ต้องมีประวัติการฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ กรณีเจ็บครรภ์คลอดธรรมชาติไม่ต้องนัดล่วงหน้า สามารถใช้สิทธิได้
- ราคาคลอดสำหรับคุณแม่ อาทิ ค่าห้องคลอด&ห้องผ่าตัด ค่าห้องพัก ค่าแพทย์ ค่ายา&เวชภัณฑ์ ฯลฯ
ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่กรมบัญชีกลางกำหนด
- มีแผลเป็นที่มดลูก (Uterine scar) คนที่เคยผ่าคลอดมาก่อน !
- ครรภ์แฝด (Multiple pregnancy)
- รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
- ทารกมีส่วนนำผิดปกติ (Malpresentation)
- ภาวะผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกและอุ้งเชิงกรานมารดา (Cephalopelvic disproportion หรือ Fetopelviv disproportion)
- การคลอดติดขัด (Obstructed labor)
- ทารกอยู่ในภาวะเครียด (Fetal Distress)
- ภาวะสายสะดื้อย้อย (Prolapsed cord)
- การติดเชื้อของช่องทางคลอด (Genital tract infection)
- เนื้องอกในอุ้งเชิงกรานที่ขัดขวางการคลอดทางช่องคลอดที่ปากมดลูกหรือภายในช่องคลอด
- รกเกาะลึก (Placenta accrete, increta หรือ percreta)
- ภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง (Severe preeclampsia)
- Elderly primigravida (>35ปี)
- ข้อบ่งชี้อื่น ๆ
เตรียมตัวก่อนและหลังผ่าคลอด

แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนและหลังผ่าคลอด
ถ้าแม่ทราบกำหนดวันผ่าคลอดแล้ว แพทย์จะพูดคุยในเรื่องสุขภาพ เพื่อป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าคลอด ได้แก่ การใช้ยาสลบ หรือยาระงับอาการเจ็บปวด เช่นการบล็อกหลัง จากนั้นคือการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮีโมโกลบิน และกรุ๊ปเลือดของคุณแม่ เพื่อการเตรียมเลือดสำรองไว้ระหว่างการผ่าตัดคลอด และอย่าลืมว่า การผ่าคลอดจะฟื้นตัวช้ากว่าการคลอดธรรมชาติ อาจต้องวางแผนหาคนคอยช่วยดูแลเด็กทารกในระหว่างที่คุณแม่ต้องพักฟื้น จนกว่าแม่จะหายเป็นปกติ การดูแลลูกน้อยด้วยตนเองเพียงคนเดียวอาจทำให้แม่พักผ่อนไม่พอ อ่อนเพลีย เกิดความเครียดได้ และเมื่อถึงวันผ่าคลอด ให้คุณแม่อาบน้ำสระผมให้สะอาด และหากจำเป็นต้องโกนขนอวัยวะเพศ ทางบุคลากรทางการแพทย์จะมีการตระเตรียมก่อนผ่าตัดเอง
วิธีดูแลรักษาตัวหลังผ่าคลอด
เมื่อการผ่าคลอดเสร็จสิ้นไปแล้ว ปกติแม่และเด็กจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลต่ออย่างน้อยอีก 2 ถึง 3 วัน เพื่อติดตามอาการหลังจากการผ่าตัดคลอด แม่หลายคนต้องใช้ยาแก้ปวดให้ผ่านทางสายน้ำเกลือ นอกจากนั้นต้องมีพยาบาลคอยดูแลเรื่องการขยับร่างกาย เพราะการเคลื่อนไหวสามารถช่วยให้แผลผ่าตัดสมานตัวได้เร็ว และยังจะลดอาการท้องผูกและการเกิดลิ่มเลือด นอกจากนั้น ทีมแพทย์ยังสามารถเฝ้าระวังการติดเชื้อของแผลผ่าคลอด รวมทั้งการดูแลสุขภาพและอาหารการกินโดยรวมซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต้องดูแลสำหรับแม่ผ่าคลอดเป็นพิเศษ นอกจากนั้น หลังผ่าคลอด แม่สามารถให้นมลูกได้เมื่อพร้อม และก่อนออกจากโรงพยาบาล พ่อแม่ควรปรึกษาสอบถามทีมแพทย์เรื่องการดูแลแม่และเด็ก ทั้งเรื่องอาหารการกิน และวัคซีน เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในแม่และเด็กต่อไป
3 วิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด
- แม่และคนดูแล ควรสังเกตบ่อยๆ ว่าแม่มีไข้หรือไม่ เพราะอาจมีการอักเสบจากแผล
- แม่และคนดูแล ควรคอยสังเกตว่าแผลจากการผ่าคลอด บวมแดงหรือไม่อย่างไร เพราะปกติแล้วแผลผ่าคลอดควรจะดีขึ้นเรื่อยๆ
- เวลาแม่ลุกหรือนั่งจากเตียงให้ตะแคงตัวเท่านั้น และเมื่อต้องการลุก ให้ค่อยๆ ใช้มือยันตัวขึ้นในท่าตะแคง รวมทั้งเวลานอนลงก็ควรใช้ท่าเดิมนี้ เพื่อลดอาการเจ็บแผลหรือการทำให้แผลผ่าคลอดเปิดได้
สอบถามเพิ่มเติม
Mommy Butler
เพื่อนคู่คิดที่รู้ใจสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
หรือ
หรือคุณสุทธินาฎ เครือจันทร์ (แจน) 065-614-7511