Header

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia)

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดต่างไปจากเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเราสามารถแบ่งชนิดไขมันในเลือดแบบง่ายๆ ได้เป็น 2 ชนิด คือ

 



  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือ ไขมันชนิดไม่ดี เป็นชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง เพราะสามารถสะสมบริเวณผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง

  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือ ไขมันชนิดดี มีส่วนช่วยในการขนส่งและกำจัดไขมันชนิดอันตรายออก และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

  • ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดการสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้เช่นกันหากมีปริมาณสูงมากๆ แม้ว่าจะมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยกว่าไขมันชนิดคอเลสเตอรอล แต่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคตับอ่อนอักเสบได้

  • การรับประทานอาหาร เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์ เป็นส่วนประกอบ
  • สาเหตุมาจากโรคหรือภาวะความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โรคตับอักเสบ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือมาจากยาที่รับประทาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาไอโสเตรติโนอิน
    (Isotretinoin) ยาคุมกำเนิดบางชนิด ยาเคมีบำบัดบางชนิด ยาต้านไวรัสเอชไอวีบางชนิด หรือจากการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
  • พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

ชนิดไขมัน ระดับที่เหมาะสม (มิลลิกรัม/เดซิลิตร)

  • คอเลสเตอรอลรวม (Total cholesterol) < 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) < 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สำหรับบุคคลทั่วไป< 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • สำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือผู้ป่วยเบาหวาน 
  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) สำหรับผู้ชาย > 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 
  • คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) สำหรับผู้หญิง > 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • ไตรกลีเซอไรด์ < 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

  • ลดน้ำหนัก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกิน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) หรือไขมันชนิดดี
  • ปรับการรับประทานอาหาร
  • ลดการรับประทานไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคอเลสเตอรอลจากอาหาร เช่น ดื่มนมขาดมันเนยหรือพร่องมันเนยทดแทน ลดปริมาณเนื้อแดงติดมัน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเลพวกปลาหมึก หอยนางรม กุ้ง ลดอาหารประเภททอดหรือผัด ลดการใช้เนยเทียมหรือมาการีน เลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง ได้แก่ น้ำมันจากถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว สำหรับผู้ที่มีภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลสูง
  • เพิ่มสัดส่วนของผักหรือผลไม้ที่มีใยอาหารสูง และเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต
  • งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยาช่วยลดไขมัน โดยใช้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกหัวใจและหลอดเลือด

แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

ชั้น1

เวลาทำการ

จ,พฤ,ศ : 17.00-20.00 ,อ,พ : 17.00-19.00 ส,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510211

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรค NCDs คืออะไร ?

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1

โรค NCDs คืออะไร ?

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

โรคที่พบได้บ่อย โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติ เรื้อนังอยู่เป็นเวลานาน

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)

โรคที่พบได้บ่อย โดยจะตรวจพบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติ เรื้อนังอยู่เป็นเวลานาน