Header

ฝีคัณฑสูตร รีบรักษาก่อนเรื้อรัง

28 มิถุนายน 2567

ฝีคัณฑสูตร รีบรักษาก่อนเรื้อรัง
      ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula หรือ Fistula-in-ano) อาจเป็นชื่อที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย ฝีคัณฑสูตร คือ การอักเสบและติดเชื้อที่ต่อมไขมันบริเวณทวารหนักที่มีหน้าที่ในการผลิตเมือก (Anal glands) เกิดการอุดตันและติดเชื้อแบคทีเรีย โดยฝีคัณฑสูตรจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
 
  • ฝีคัณฑสูตรชนิดที่อยู่ตื้น หรือไม่ซับซ้อน (Simple Fistula) จะเป็นฝีคัณฑสูตรที่มีการเชื่อมต่อระหว่างรูทวารกับผิวหนังเพียง 1 ทาง
  • ฝีคัณฑสูตรชนิดที่ลึกหรือมีความซับซ้อน (Complex Fistula) จะเป็นฝีคัณฑสูตรที่มีความเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักมากกว่าแบบแรก
    ซึ่งอาจมีทางออกสู่ผิวหนังหลายทาง หรืออาจเชื่อมโยงกับอวัยวะข้างเคียง

 

การป้องกันการเป็นโรคฝีคัณฑสูตร

  • รักษาความสะอาดบริเวณทวารหนัก เช็ดให้แห้งอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ
  • ทานอาหารที่มีกากใยสูง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก 

 

สาเหตุการเกิดโรคฝีคัณฑสูตร

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เชื้อรา
  • การติดเชื้อวัณโรค
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
  • โรคมะเร็งทวารหนัก หรือโรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด
     

อาการของโรคฝีคัณฑสูตร

  • ปวด บวม แดง ร้อน หรือคัน บริเวณทวารหนัก หรือแก้มก้น
  • เจ็บเวลาขับถ่ายอุจจาระ
  • มีหนองไหลออกจากทวารหนัก
  • มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากรูแผลบริเวณทวารหนัก หรือมีเลือดปนหนองซึมออกมา
     

การวินิจฉัยโรคฝีคัณฑสูตร

  • ซักประวัติตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์
  • อัลตราซาวด์ทวารหนักเพื่อตรวจโดยละเอียด
  • หากเป็นฝีคัณฑสูตรชนิดซับซ้อนอาจต้องใช้ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ในการตรวจเพื่อความแม่นยำ
     

การรักษาโรคฝีคัณฑสูตรด้วยการผ่าตัด

     การผ่าตัดฝีคัณฑสูตรมี 2 แบบ คือ

  • การผ่าตัดแบบเปิด
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง
     

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดฝีคัณฑสูตร

  • งดอาหารและน้ำ 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  • แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาที่ทานประจำ
  • อาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด
  • เตรียมเสื้อผ้าที่หลวมสบาย
     

ระยะเวลาพักฟื้นและวิธีดูแลตัวเองหลังผ่าตัดฝีคัณฑสูตร

  • พักฟื้นในโรงพยาบาล 1-2 วัน
  • ทานยาตามแพทย์สั่ง
  • รักษาความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัด
  • นั่งแช่น้ำอุ่น 15-20 นาที วันละ 3-4 ครั้ง
  • ทานอาหารที่มีกากใยสูง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ
  • ออกกำลังกายเบาๆ
     

วิธีป้องกัน ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

  • รักษาความสะอาดบริเวณทวารหนัก
  • ทานอาหารที่มีกากใยสูง
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการนั่งนานๆ
  • ตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำ




  •  
  •  
    โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ มีศักยภาพในการผ่าตัดรักษาโรค “ฝีคัณฑสูตร” 
    โดย ศัลยแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ในการผ่าตัดรักษา 

     

     

    ข้าราชการสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง (คลิก)

         ในการร่วมจ่ายค่าผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ผู้ที่สามารถใช้สิทธิข้าราชร่วมจ่ายได้

  • ข้าราชการประจำ
  • ลูกจ้างประจำ
  • ผู้รับเบี้ยหวัด
  • ผู้รับบำนาญ 
  • บุคคลในครอบครัวของข้าราชการ (บิดา, มารดา, คู่สมรส และบุตร 3 คน)


     แพ็กเกจเหมาจ่ายผ่าตัดฝีคัณฑสูตร

         

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

   

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

สถานที่

ชั้น2

เวลาทำการ

จ,อ,พ,พฤ,ส : 08.00-20.00 ศ,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510401 ,510402

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

03 กรกฎาคม 2567

ไส้ติ่งอักเสบ ป้องกันได้

อวัยวะภายในร่างกายมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละส่วน พูดถึง “ไส้ติ่ง” น้อยคนนักจะรู้ว่าอวัยวะนี้ทำหน้าที่อะไร ส่วนใหญ่จะรู้จักกับโรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะนี้ นั่นคือ โรคไส้ติ่งอักเสบ

03 กรกฎาคม 2567

ไส้ติ่งอักเสบ ป้องกันได้

อวัยวะภายในร่างกายมีหน้าที่เฉพาะเจาะจงของแต่ละส่วน พูดถึง “ไส้ติ่ง” น้อยคนนักจะรู้ว่าอวัยวะนี้ทำหน้าที่อะไร ส่วนใหญ่จะรู้จักกับโรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะนี้ นั่นคือ โรคไส้ติ่งอักเสบ

26 มีนาคม 2567

นิ่วในถุงน้ำดี โรคใกล้ตัว รักษาได้

นิ่วในถุงน้ำดี คืออะไร นิ่วในถุงน้ำดี เป็นชิ้นส่วนของแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี โดยชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดขึ้นจากส่วนประกอบของน้ำดี เช่นคอเลสเตอรอล และ บิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) เกิดการตกตะกอนเป็นผลึก มีลักษณะเป็นก้อน โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดเล็กๆ เท่ากับเม็ดทรายไปจนถึงขนาดเท่าไข่ไก่ และเกิดขึ้นก้อนเดียว ไปจนถึงหลายร้อยก้อน

26 มีนาคม 2567

นิ่วในถุงน้ำดี โรคใกล้ตัว รักษาได้

นิ่วในถุงน้ำดี คืออะไร นิ่วในถุงน้ำดี เป็นชิ้นส่วนของแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี โดยชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดขึ้นจากส่วนประกอบของน้ำดี เช่นคอเลสเตอรอล และ บิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) เกิดการตกตะกอนเป็นผลึก มีลักษณะเป็นก้อน โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดเล็กๆ เท่ากับเม็ดทรายไปจนถึงขนาดเท่าไข่ไก่ และเกิดขึ้นก้อนเดียว ไปจนถึงหลายร้อยก้อน

27 มิถุนายน 2567

ไส้เลื่อน อันตราย รักษาด้วยการผ่าตัด (Hernia)

โรคที่อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรู หรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อ หรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน

27 มิถุนายน 2567

ไส้เลื่อน อันตราย รักษาด้วยการผ่าตัด (Hernia)

โรคที่อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรู หรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อ หรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน