Header

กระดูกหัก มี่กี่แบบ? มีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง?

13 กันยายน 2567

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

กระดูกหัก มี่กี่แบบ? มีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง?

กระดูกหัก มี่กี่แบบ? มีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง?

     กระดูกหัก คือ ภาวะที่กระดูกเสียโครงสร้างและความแข็งแรง จากแรงที่มากระทำต่อกระดูกมากเกินความสามารถที่กระดูกจะรับได้กระดูกหักพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กอ่อนไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยพบได้มากขึ้นในผู้สูงอายุ บริเวณกระดูกที่หักบ่อย ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า กระดูกสะโพก กระดูกต้นแขน และกระดูกสันหลัง โดยปกติแล้วกระดูกจะสามารถรับแรงที่มากระทำได้ค่อนข้างเยอะ การบาดเจ็บต้องมีกลไกการบาดเจ็บที่รุนแรงพอสมควรที่ทำให้กระดูกหัก เช่น อุบัติเหตุจักรยานยนต์ล้ม ตกบันได หรือตกจากที่สูง เป็นต้น แต่ก็มีบางโรคหรือบางภาวะที่แรงที่ไม่มากนักมากระทำต่อกระดูกก็ทำให้กระดูกหักได้ เช่น ลื่นล้มเบาๆก้นกระแทกพื้นแล้วสะโพกหัก หรือแค่เอี้ยวตัวก็เกิดกระดูกต้นขาหัก เราเรียกภาวะนั้นว่า “กระดูกหักง่ายจากกระดูกมีพยาธิสภาพ (pathological fracture)” ซึ่งสาเหตุที่ทำให้กระดูกหักง่าย ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคเนื้องอก/มะเร็งกระดูก โรคกระดูกพันธุกรรม โรคกระดูกทางเมตาบอลิกอื่นๆ ถ้าหากมีโรคประจำตัวบางอย่างที่ต้องทานยาสเตียรอยด์เป็นประจำ หรือมีอาการเตือนบางอย่าง เช่น กระดูกโก่งงอผิดรูปหรือคลำพบก้อน ปวดแขนขาหรือข้อต่อมากโดยเฉพาะตอนกลางคืน ร่างกายดูผอมมากว่าปกติ แนะนำให้มาตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักง่าย
 

ชนิดของกระดูกหัก

กระดูกหักสามารถแบ่งได้หลายวิธี โดยมากนิยมจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คิอ

  • กระดูกหักแบบปิด คือกระดูกหักโดยไม่มีแผลเปิดออกภายนอก ไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ และผิวหนังรอบๆ กระดูก
  • กระดูกหักแบบเปิด คือกระดูกหักร่วมกับมีแผลทะลุออกนอกผิวหนัง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของอาการกระดูกหักที่พบบ่อย

  • อุบัติเหตุ การหกล้ม
  • ถูกทำร้ายร่างกาย
  • คนที่ประกอบอาชีพที่จำเป็นต้องเดินกระแทกซ้ำๆ หรือวิ่งเป็นประจำ ในระยะเวลานาน เช่น นักกีฬา ทหาร อาจเกิดกระดูกหักชนิดstress fracture ได้
  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะกระดูกบาง หรือโรคกระดูกพรุน
  • คนไข้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องทานสเตียรอยด์เป็นประจำ
  • โรคเนื้องอกหรือมะเร็งกระดูก

อาการ และข้อควรสงสัยว่ากระดูกหัก

  • เจ็บหรือปวดมากทันทีในกระดูกส่วนนั้น
  • แขนขาผิดรูป หรือข้อต่างๆ ผิดรูปไปจากเดิม
  • ผู้ป่วยขยับเคลื่อนไหวไม่ได้ รู้สึกเจ็บมาก
  • ลุกยืนลงน้ำหนักไม่ได้
  • เมื่อมีแผลเปิดร่วมด้วย อาจเห็นกระดูกทะลุออกมา

การดูแลเบื้องต้นเมื่อสงสัยว่ากระดูกหัก

  • ถ้าสงสัยกระดูกสันหลังหัก/เคลื่อน ห้ามเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเอง ให้ตามเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน และรอจนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาช่วยเหลือ
  • ในกรณีที่สงสัยแขนขาหัก ให้หาแผ่นไม้ หรือกระดาษลังดามเพื่อให้แขนขานั้นอยู่นิ่ง
  • กรณีมีบาดแผลเลือดออก ใช้ผ้าสะอาดกด/พันแผลห้ามเลือด
  • ประคบเย็น เพื่อลดอาการบวม และอักเสบ
  • ระหว่างรอเจ้าหน้าที่ ช่วยปลอบใจไม่ให้ผู้ป่วยตกใจ
  • แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ เพื่อเตรียมตัวเข้ารับการรักษา เพราะอาจต้องดมยาสลบ หรือรับการผ่าตัดรักษาแบบฉุกเฉิน

การวินิจฉัยกระดูกหัก

แพทย์วินิจฉัยกระดูกหักได้จากอาการ ประวัติการได้รับอุบัติเหตุ การตรวจร่างกาย และถ่ายภาพเอกซเรย์กระดูกส่วนนั้น

แนวทางการรักษากระดูกหัก

การรักษาการกระดูกหักมีสองวิธีใหญ่ๆ คือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด และ แบบผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งกระดูก ลักษณะการหักของกระดูก อายุ และโรคประจำตัวของผู้ป่วย การรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยมากแพทย์จะให้การรักษาโดยการใส่เฝือก ส่วนการรักษาโดยการผ่าตัดก็จะเป็นการจัดกระดูกเข้าที่และดามด้วยโลหะดามกระดูก

การดูแลตนเองและการพบแพทย์

  • ปฏิบัติตามที่แพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัดแนะนำ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหว และลงน้ำหนักกระดูกที่หัก
  • ถ้าต้องใส่เฝือก อย่าถอดเฝือกเอง ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับเฝือกควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาลก่อนเสมอ
  • พบแพทย์ตามนัด และรีบพบแพทย์ทันทีเมื่ออาการต่างๆ แย่ลง มีอาการผิดปกติไปจากเดิม

การป้องกันกระดูกหัก

  • ลดความเสี่ยงจากการหกล้ม โดยจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านให้ ไม่มีสิ่งกีดขวางหรือรกรุงรัง แสงว่างเพียงพอ พยายามให้พื้นแห้งไม่ลื่น
  • หากญาติหรือผู้ดูแลสังเกตว่าคนในบ้านมีการเดินทรงตัวแย่ลง ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ หรือถ้าจำเป็นก็ควรมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด
  • หากขับขี่ยานพาหนะก็คาดเข็มขัดนิรภัยหรือสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง

    ระยะเวลาการหายของกระดูกหัก

    ระยะเวลาในการติดของกระดูกหักขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่ อายุ การติดเชื้อ ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย การสูบบหรี่ กระดูกแต่ละตำแหน่งก็มีระยะเวลาในการติดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ระยะเวลาตั้งแต่กระดูกหักจนกระดูกติดสนิท มีได้ตั้งแต่ 4 - 9 เดือน

     

     

    ผลข้างเคียงของกระดูกหักความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากกระดูกหัก มีได้ตั้งแต่

    • การบาดเจ็บต่อเส้นเลือด/เส้นประสาท หากกระดูกหักเคลื่อนไปกดเบียด หรือปลายแหลมบริเวณกระดูกหักไปทิ่ม
    • การติดเชื้อ หากเป็นกระดูกหักชนิดมีแผลเปิด
    • การเสียเลือดปริมาณมาก หากเป็นกระดูกหักชนิดมีแผลเปิด หรือกระดูกบางตำแหน่ง เช่น กระดูกต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน บางครั้งทำให้เกิดภาวะช็อคจากการเสียเลือดปริมาณมากๆได้
    • ภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกติดผิดรูป ทำให้การใช้งานแขนขา หรือข้อต่อตำแหน่งที่กระดูกหักติดผิดรูป มีการใช้งานที่ไม่เหมือนเดิม
    • ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา เช่น แผลกดทับจากเฝือก ภาวะความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง

 

 

 

 

 

หากมีคำถามเพิ่มเติมหรือมีความกังวลใดใด โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการตรวจรักษาและดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร ให้บริการครอบคลุม
ทั้งในวินิจฉัยรักษาฟื้นฟู รวมถึงตรวจเพื่อป้องกันโรค และในคำปรึกษาอย่างครบด้าน

 


นัดหมายแพทย์ ติดต่อได้ที่ Tal. 056 000 111 ต่อ 500602 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการทุกวันตั้งแต่ 8.00 – 20.00 น.

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกกระดูกละข้อ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

สถานที่

ชั้น2

เวลาทำการ

จ : 08.00-16.00 ,อ-พฤ : 08.00-20.00 ,ศ : 08.00-17.30 ,ส : 17.00-20.00 ,อา 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510401

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.ณัฐพล เชื้อสำราญ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ - เฉพาะทางเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื้ออ่อน

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.ธีรภัทร วงศ์ศิริวรรณ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.กำพล นัยเกตุ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ - เฉพาะทางข้อสะโพกและเข่า

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

13 กันยายน 2567

ผ่าตัดกระดูกไหปลาร้า

ซึ่งกระดูกไหปลาร้าหักเป็นตำแหน่งที่พบได้ว่าหักบ่อย แต่จะเกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายมาก

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

13 กันยายน 2567

ผ่าตัดกระดูกไหปลาร้า

ซึ่งกระดูกไหปลาร้าหักเป็นตำแหน่งที่พบได้ว่าหักบ่อย แต่จะเกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายมาก

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม