Header

ผ่าตัดกระดูกไหปลาร้า

13 กันยายน 2567

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ผ่าตัดกระดูกไหปลาร้า

ผ่าตัดกระดูกไหปลาร้า

     อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และบางครั้งก็เกิดขึ้นโดยที่เราไม่คาดคิด จนอาจทำให้กระดูกไหปลาร้าหักได้ ซึ่งอาจเกิดจากแรงกระแทกที่รุนแรงบริเวณหัวไหล่ หรือล้มแล้วเอาแขนค้ำพื้น ซึ่งกระดูกไหปลาร้าหักเป็นตำแหน่งที่พบได้ว่าหักบ่อย แต่จะเกิดจากอะไรได้บ้าง อันตรายมากหรือไม่ แล้วมีวิธีรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
 

ทำความรู้จัก กระดูกไหปลาร้า

กระดูกไหปลาร้า (Clavicle)

     เป็นกระดูกยาวรูปโค้งที่เชื่อมระหว่างกระดูกหน้าอก (Sternum) กับกระดูกสะบัก (Scapula) ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างแขนและลำตัว โดยกระดูกไหปลาร้ามีลักษณะโค้งเหมือนตัว “S” ซึ่งช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของร่างกาย ความสำคัญของกระดูกไหปลาร้า คือ ทำหน้าที่ช่วยพยุงข้อไหล่และแขน ช่วยกระจายแรงจากแขนสู่ลำตัว นอกจากนี้ยังป้องกันเส้นเลือดและเส้นประสาทสำคัญที่อยู่บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า หากได้รับบาดเจ็บ เช่น การหัก จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของแขนและอาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างรอบข้าง

กระดูกไหปลาร้าหัก มีอาการอย่างไร

  • ปวดมากจนขยับแขนได้ลำบาก
  • อาจมีรอยฟกช้ำ จ้ำเลือด มีจุดกดเจ็บชัดเจน
  • สังเกตเห็นการเคลื่อนของกระดูก เห็นเป็นลักษณะนูนๆ ผิดปกติชัดเจน
  • บางรายกระดูกอาจทิ่มทะลุผิวหนัง เพราะกระดูกไหปลาร้าอยู่ค่อนข้างตื้น มีเนื้อเยื่อปกคลุมไม่หนามากนัก

สาเหตุที่ทำให้กระดูกไหปลาร้าหัก เกิดจากอะไร

  • ทางตรง เกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ ที่มีการกระแทกโดยตรงต่อกระดูกไหปลาร้า อาจเกิดจากการตกจากที่สูง หกล้ม อุบัติเหตุทางถนน เป็นต้น
  • ทางอ้อม เกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่ได้กระแทกโดยตรงตำแหน่งกระดูกไหปลาร้า แต่อาจเกิดแรงกระแทกจากแขน หรือไหล่ เช่น กรณีตกจากที่สูงแล้วไหล่กระแทก แล้วแรงส่งผ่านจนมาถึงกระดูกไหปลาร้า ซึ่งหากแรงมากพออาจทำให้กระดูกไหปลาร้าหักได้

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้หากกระดูกไหปลาร้าหัก

     ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการหักของกระดูกไหปลาร้าหัก เช่น กระดูกไม่ติด กระดูกติดผิดรูป เส้นเลือดเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ ความผิดปกติของการทำงานข้อไหล่ ข้อไหล่ติด หรือ อาจมีอาการปวดเรื้อรังจากกระดูกไม่ติด ได้

 

 

วิธีการรักษากระดูกไหปลาร้าหัก จะแตกต่างกันไปตามระดับความร้ายแรงของกระดูกที่หัก หรืออาจมีการรักษาร่วมกันหลายวิธี ดังนี้

     1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด

  • รับประทานยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • อุปกรณ์พยุงไหล่ เช่น ผ้าคล้องแขน ผ้ารัดไหล่รูปเลขแปด เป็นต้น ในระยะแรก จะมีอาการปวด บวม กดเจ็บ หรือ คลำได้ปลายกระดูกที่หัก บางครั้งอาจได้ยินเสียงกระดูกเสียดสีกันเวลาขยับไหล่ ขยับแขน ไอจาม แต่ สามารถทำกิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวันและบริหารข้อไหล่ได้โดยมีหลักง่ายๆ ว่า “ ถ้าทำแล้วไม่ปวด ก็ทำได้แต่ถ้าทำแล้วปวดก็ให้หยุด”
  • การใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ มีจุดประสงค์เพื่อ ลดการเคลื่อนไหว ของกระดูกหัก จะได้ไม่ปวด เท่านั้น (ไม่ได้ใส่เพื่อให้กระดูกเข้าที่เหมือนปกติ) ดังนั้น เมื่อรักษาหายแล้วกระดูกจะติดผิดรูป ทำให้กระดูกไหปลาร้านูนกว่าปกติ อาจดูแล้วไม่สวยงามแต่ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาในการใช้งาน
  • โดยทั่วไปจะใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ไว้4-6 อาทิตย์สามารถถอด อุปกรณ์พยุงไหล่ ออกได้ในบางช่วง เช่น อาบน้ำ หรือ นอน เป็นต้น เพียงแต่ เมื่อถอดอุปกรณ์พยุงไหล่ออก เวลาขยับไหล่อาจรู้สึกปวดมากขึ้น
  • หลังจาก 4-6 อาทิตย์กระดูกจะเริ่มติด ถ้าเคลื่อนไหวไหล่แล้ว ไม่ค่อยปวด สามารถถอดอุปกรณ์พยุงไหล่ออกได้เลย (กระดูกติดสนิท ใช้เวลา 4-6 เดือน)
  • การบริหารข้อไหล่ สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ช่วงที่กระดูกหัก โดย มีหลักเบื้องต้นว่า “ถ้าทำแล้วไม่ปวด ก็ทำได้แต่ถ้าทำแล้วปวดก็ให้หยุด” ถ้าไม่บริหารข้อไหล่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่น ข้อไหล่ติดกล้ามเนื้อลีบอ่อนแรง ซึ่งจะรักษายากและทำให้ผลการรักษาไม่ค่อยดี ***การรักษาโดยไม่ผ่าตัด ( เอาไว้เลือก ) หากกระดูกมีการเคลื่อนเพียงเล็กน้อย การหักไม่ซับซ้อน แพทย์จะทำการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยแนะนำใส่ผ้าคล้องแขน(arm sling) หรือสายรัดพยุงกระดูกไหปลาร้า(clavicle brace) โดยใส่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทั้งนี้จะติดตามการเชื่อมติดของกระดูกจากภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์เป็นระยะ หากมีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หากอาการปวดไม่ดีขึ้น หรือมีอาการชา อ่อนแรงร่วมด้วยให้พบแพทย์ทันที

     2. การรักษาแบบผ่าตัด

     กรณีที่กระดูกไหปลาร้าหักและมีการเคลื่อนที่ออกจากกันมาก โดยเฉพาะหดสั้นหรือแยกออกจากกันมากกว่า 2 เซนติเมตร การรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อใส่เหล็กดามกระดูกจะเพิ่มโอกาสกระดูกติดและลดการติดผิดรูปได้ ในปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบแผลเล็กด้วยเทคนิค MIPO (Minimally Invasive Percutaneous Plate Osteosynthesis) โดยเปิดแผลสั้น ๆ ประมาณ 2 – 3 แผล หลังจากนั้นสอดเหล็กเข้าไปใต้ผิวหนังและยึดตรึงกระดูกด้วยสกรู โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแผลผ่าตัดยาวตลอดความยาวของกระดูกไหปลาร้า การผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้สามารถลดโอกาสการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและเส้นประสาท รวมไปถึงลดการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวไว และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น

 

ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัด

  • กระดูกหักแบบเคลื่อนที่มาก (Displaced Fracture) ทำให้กระดูกไม่สามารถเชื่อมติดได้ อาจส่งผลให้กระดูกไม่เชื่อมติด จึงจำเป็นต้องผ่าตัด
  • การหักที่แตกเป็นชิ้นหลายชิ้น (Comminuted Fracture) ในบางกรณีที่มีการแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถเชื่อมติดได้โดยธรรมชาติ
  • กระดูกไม่เชื่อมติดกัน (Nonunion) เมื่อกระดูกไม่สามารถเชื่อมติดกันได้เองหลังจากที่มีการรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด
  • กระดูกเชื่อมผิดตำแหน่ง (Malunion) กระดูกเชื่อมติดกันแต่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนไหวหรือรูปลักษณ์ที่ผิดปกติ
  • การบาดเจ็บร่วม (Associated Injury) มีการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทหรือหลอดเลือดในบริเวณที่กระดูกหัก ซึ่งต้องการการซ่อมแซมด่วน

 

ข้อบ่งชี้อาจมีนอกเหนือจากข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ และความต้องการของผู้ป่วย โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดจัดกระดูกให้เข้าที่ และใช้โลหะยึดดามกระดูก โดยผู้ป่วยจะต้องใส่ผ้าคล้องแขนและติดตามภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ เป็นระยะๆ เช่นเดียวกับการรักษาแบบไม่ผ่าตัด
*** สำหรับการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีอาการชาบริเวณส่วนบนของหน้าอกจากแผลผ่าตัด หรือคลำได้รอยนูนของเหล็ก แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถลดโอกาสกระดูกไม่ติดหรือติดผิดรูปได้ การรักษาที่เป็นไปตามข้อบ่งชี้จะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน 

 

*** สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษากระดูกไหปลาร้าหัก คือการตัดสินใจร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเพื่อให้เลือกวิธีการรักษาที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรง และสภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย

 

 

 

 

 

หากมีคำถามเพิ่มเติมหรือมีความกังวลใดใด โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการตรวจรักษาและดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร ให้บริการครอบคลุม
ทั้งในวินิจฉัยรักษาฟื้นฟู รวมถึงตรวจเพื่อป้องกันโรค และในคำปรึกษาอย่างครบด้าน

 


นัดหมายแพทย์ ติดต่อได้ที่ Tal. 056 000 111 ต่อ 500602 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการทุกวันตั้งแต่ 8.00 – 20.00 น.

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกกระดูกละข้อ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

สถานที่

ชั้น2

เวลาทำการ

จ : 08.00-16.00 ,อ-พฤ : 08.00-20.00 ,ศ : 08.00-17.30 ,ส : 17.00-20.00 ,อา 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510401

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.ธีรภัทร วงศ์ศิริวรรณ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ศัลย์แพทย์กระดูกและข้อ - เฉพาะทางด้านออโรปิดิกส์การบาดเจ็บ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.ณธัช เลื่อนตามผล

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

13 กันยายน 2567

กระดูกหัก มี่กี่แบบ? มีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง?

กระดูกหัก คือ ภาวะที่กระดูกเสียโครงสร้างและความแข็งแรง จากแรงที่มากระทำต่อกระดูกมากเกินความสามารถที่กระดูกจะรับได้กระดูกหักพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

13 กันยายน 2567

กระดูกหัก มี่กี่แบบ? มีวิธีดูแลอย่างไรบ้าง?

กระดูกหัก คือ ภาวะที่กระดูกเสียโครงสร้างและความแข็งแรง จากแรงที่มากระทำต่อกระดูกมากเกินความสามารถที่กระดูกจะรับได้กระดูกหักพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม