การล้างจมูกสำหรับเด็ก
14 มีนาคม 2567
การล้างจมูกคือ การทำความสะอาดโพรงจมูก โดยการใส่หรือหยอดน้ำเข้าไปในจมูก การล้างจมูกจะช่วยชะล้างมูกคราบมูก
หรือหนองบริเวณโพรงจมูกและ หลังโพรงจมูกออกทำให้โพรงจมูกสะอาด น้ำที่ใช้ แนะนำให้ใข้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9%
เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูกและทำให้เชื้อโรคไม่เจริญเติบโต
1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูก
1.1 น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9% ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา แนะนำให้ใช้ขวดละ 100 ซีซี
1.2 ถ้วยสะอาดสำหรับใส่น้ำเกลือ
1.3 กระบอกฉีดยาพลาสติกขนาด 1 ซีซี (ไม่ใส่เข็ม) หรือ ขวดยาหยอดตา สำหรับเด็กขวบปีแรก
1.4 ลูกยางแดงสำหรับดูดน้ำมูกและเสมหะสำหรับเด็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้
1.5 ภาชนะใส่น้ำล้างจมูก และกระดาษทิชชู
2. วิธีล้างจมูกสำหรับเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้
2.1 ล้างมือผู้ที่จะทำการล้างจมูกให้สะอาด
2.2 เทน้ำเกลือใส่ขวดยาหยอดตา หรือใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำเกลือจนเต็ม
2.3 ให้ใช้ผ้าห่มตัวเด็กในกรณีที่เด็กไม่ให้ความร่วมมือและดิ้มมากการห่อตัวเด็กจะช่วยให้ผู้ล้างจมูกสามารถล้างจมูกได้สะดวกนุ่มนวลและไม่เกิดการขาดเจ็บ
2.4 ให้เด็กนอนในท่าศีรษะสูงพอควร เพื่อป้องกันการสำลัก
2.5 จับหน้าให้นิ่ง ค่อยๆ หยดน้ำเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือ ค่อยๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเข้าไปมนรูจมูกข้างที่จะล้างโดยให้วางปลายกระบอกฉีดยาชิดด้านบนของรูจมูก ค่อยๆฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5 ซีซี
2.6 ใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกในจมูกออก โดยให้บีบลูกยางแดงจนสุดเพื่อไล่ลมออกแล้วค่อยๆสอดเข้าไปรูจมูกลึกประมาณ 1-1.5 ซม.ค่อยๆ ปล่อยมือที่บีบออกช้าๆ เพื่อดูดน้ำมูกเข้ามาในลูกยางแดงบีบน้ำมูกในลูกยางแดงทิ้งในกระดาษทิชชู
2.7 ทำซ้ำๆหลายๆครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก
2.8 ในกรณีที่รู้สึกว่ามีเสมหะในคอ ให้สอดบูกยางแดงเข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในลำคอ ให้สอดลูกยางแดงเข้าทางปากเพื่อดูดเสมหะในคอออก ถ้าต้องการให้เด็กเอาเสมหะออกให้
2.9 ทิ้งกระดาษทิชชูที่ใข้แล้วลงถังขยะแล้วล้างมือให้สะอาด
1. ให้เด็กนั่งหรือยืน แหงนหน้าเล็กน้อย ค่อยๆ สอดปลายกระบอกฉีดยาเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น
2. ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือครั้งละประมาณ 0.5-1 ซีซี หรือ เท่าที่เด็กทนได้พร้อมกับสั่งให้เด็กกลืนน้ำเกลือที่ไหลลงคอเป็นระยะ ระหว่างฉีดน้ำเกลือ หรือให้บ้วนทิ้ง
3. สั่งน้ำมูกลงในกระดาษทิชชูพร้อมๆ กันทั้งสองข้าง (ไม่ต้องอุดรูจมูกอีกข้าง) ทำซ้ำหลายๆ ครั้งในรูจมูกแต่ละข้างจนไม่มีน้ำมูก
ให้ล้างอุปกรณ์ที่ใช้ล้างจมูกให้สะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเติบโตและเพิ่มปริมาณโดยกระบอกฉีดยาและภาชนะที่ใส่น้ำเกลือให้ล้างน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน ล้างด้วยน้ำประปาจนหมดน้ำสบู่ ผึ่งให้แห้งล้างลูกยางแดงด้วยน้ำสบู่ทั้งภายนอกและภายใน
อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งช่วงตื่นนอนตอนเช้าและก่อนเข้านอน หรือเมื่อรู้สึกว่ามีน้ำมูกมากแน่นจมูก หรือก่อนใช้ยาพ่นจมูก แนะนำให้ทำในช่วงท้องว่างเพราะจะได้ไม่เกิดอาการอาเจียน
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์สุขภาพเด็ก
สถานที่
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 2 ชั้น 1
เวลาทำการ
จ-อ : 8.30-20.00 ,พ-ส : 07.00-20.00 ,อา : 8.00-20.00
เบอร์ติดต่อ
(056) 000 111 ต่อ 500602