ผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก (Hip Arthroplasty)
13 กันยายน 2567
การผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก (Hip Arthroplasty)
การผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก คืออะไร? การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมคือการผ่าตัดเพื่อนำส่วนของข้อสะโพกเดิมที่เสื่อมสภาพ หัวสะโพกขาดเลือด หรือแตกหักออก และทดแทนข้อใหม่ด้วยข้อสะโพกเทียม (Prosthesis) เพื่อให้มีการเคลื่อนไหว คล้ายคลึงการเคลื่อนไหวของข้อจริงมากที่สุด
การผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก คืออะไร?
การผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก คืออะไร? การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมคือการผ่าตัดเพื่อนำส่วนของข้อสะโพกเดิมที่เสื่อมสภาพ หัวสะโพกขาดเลือด หรือแตกหักออก และทดแทนข้อใหม่ด้วยข้อสะโพกเทียม (Prosthesis) เพื่อให้มีการเคลื่อนไหว คล้ายคลึงการเคลื่อนไหวของข้อจริงมากที่สุด
การผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก (Hip Arthroplasty) แบ่งออกเป็น 2 แบบ
- การผ่าตัดทั้งหัวและคอกระดูกกระดูกต้นขาและเบ้าสะโพก (Total Hip Arthroplasty) คือ การผ่าตัดโดยตัดส่วนหัวของกระดูกต้นขาออกแล้วใส่ข้อเทียมเฉพาะส่วนที่เป็นหัวกระดูกและก้าน รวมทั้งกรอเบ้าสะโพกที่สึกหรอออก แล้วใส่เบ้าสะโพกเทียมแทนร่วมด้วย เป็นวิธีการผ่าตัดรักษาข้อสะโพกเสื่อม
- การเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเพียงด้านเดียว (Hip Hemiarthroplasty) คือ การผ่าตัดโดยตัดเฉพาะส่วนหัวของกระดูกต้นขาออก แล้วใส่ข้อเทียมเฉพาะส่วนที่เป็นหัวกระดูกและก้านเท่านั้น เป็นวิธีการผ่าตัดที่นิยมใช้สำหรับภาวะคอสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ
ข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
- กระดูกสะโพกหักชนิดที่ไม่เหมาะสมที่จะรักษาด้วยวิธีใช้โลหะยึดดามกระดูก
- โรคข้อสะโพกเสื่อม ในรายที่รักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วอาการปวดไม่ลดลง หรือต้องทานยาแก้ปวดอยู่ตลอด ไม่สามารถหยุดทานยาแก้ปวดได้
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
- ข้อสะโพกหลุดหลังการผ่าตัด
- ภาวะหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน
- การติดเชื้อหลังผ่าตัด
- กระดูกหักจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม จะกลับมาเดินได้เมื่อไหร่?
โดยปกติแล้ว หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ำหนักได้เลย ถ้าไม่มีข้อห้ามจากแพทย์ผู้รักษา
- 4 สัปดาห์แรก เริ่มเดินโดยใช้อุปกรณ์ช่วยเดินแบบสี่ขา เพื่อความมั่นคงขณะเดินและลดอาการปวดจากการลงน้ำหนักที่ขา เมื่อผู้ป่วยสามารถลงน้ำหนักได้มากขึ้นอาจพิจารณาเปลี่ยนอุปกรณ์ช่วยเดินเป็นไม้คำยัน และไม้เท้า
- หลังผ่าตัด 6 สัปดาห์: สามารถเดินได้โดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าช่วยพยุง
- หลังผ่าตัด 8 สัปดาห์: ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถกลับไปขับรถได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ก่อน
- หลังผ่าตัด 12 สัปดาห์: สามารถเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ แต่จะเร็วหรือช้ากว่านี้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคลด้วย อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม ยาวนานแค่ไหน? โดยเฉลี่ยมีอายุการใช้งาน 10 -20 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและน้ำหนักตัวผู้ป่วย ข้อห้ามและข้อควรระวังหลังการผ่าตัดในระยะแรก
- ไม่ก้มตัวลงหยิบของที่พื้นในขณะยื่นหรือนั่ง
- ไม่นั่งไขว่ห้าง
- ควรนั่งเก้าอี้ที่มีเบาะแข็งและควรเลื่อนตัวมาอยู่ขอบเก้าอี้ก่อนลุกขึ้นยืน ควรนั่งเก้าอี้สูง เช่น เก้าอี้บาร์ ไม่นั่งโซฟา
- ไม่ใช้ส้วมซึม หากไม่มีต้องใช้เก้าอี้สูงสำหรับวางคร่อมคอห่าน
- ไม่ยืนในท่าที่หันปลายเท้าเข้าหาลำตัวและหุบขาเข้า
- ควรนอนหงายหรือนอนตะแคงโดยมีหมอนรองระหว่างขา เพื่อป้องกันไม่ให้มีการหุบขาเข้ามาหากันมากเกินไป
- ให้ระมัดระวังท่าทางหรือการเคลื่อนไหวที่ทำให้ลำตัวและต้นขาทำมุมน้อยกว่ามุมฉาก (90 องศา) การปฏิบัติตัวเพื่อยืดอายุการใช้งานของข้อสะโพกเทียม
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดที่มากเกินไป
- รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่เร็วเกินไป รวมถึงการหมุนตัวที่รวดเร็ว
- หลีกเลี่ยงการงอข้อสะโพกมากๆ เช่น การนั่งเก้าอี้เตี้ย หรือนั่งยองๆ
- ระวังการลื่นหกล้ม
- ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขาอย่างสม่ำเสมอ
หากมีคำถามเพิ่มเติมหรือมีความกังวลใดใด โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการตรวจรักษาและดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร ให้บริการคครอบคลุม
ทั้งในวินิจฉัยรักษาฟื้นฟู รวมถึงตรวจเพื่อป้องกันโรค และในคำปรึกษาอย่างครบด้าน
นัดหมายแพทย์ ติดต่อได้ที่ Tal. 056 000 111 ต่อ 500602 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการทุกวันตั้งแต่ 8.00 – 20.00 น.
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แผนกโรคกระดูกและข้อ
สถานที่
ชั้น2
เวลาทำการ
จ : 08.00-16.00 ,อ-พฤ : 08.00-20.00 ,ศ : 08.00-17.30 ,ส : 17.00-20.00 ,อา 08.00-17.00
เบอร์ติดต่อ
(056) 000 111 ต่อ 510401