Header

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty)

27 สิงหาคม 2567

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty)

 

     ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดรุนแรงเรื้อรังมานาน และรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด แล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นสามารถเลือกทำได้ในหลากหลายช่วงอายุ แต่ละช่วงอายุมีการใช้เทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอาการของโรค รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วยซึ่งหลังผ่าตัดผู้ป่วยเสมือนได้ข้อเข่าแบบใหม่ สามารถกลับมาก้าวเดินอย่างมั่นใจอีกครั้ง
 

 
 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คืออะไร?

    การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty: TKA/TKR) หรือเรียกสั้นๆ ว่า TKA/TKR คือ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าส่วนที่เสียหรือเสื่อมสภาพออกทั้งหมด แล้วแทนที่ด้วยผิวข้อเข่าเทียมที่ทำจากโลหะอัลลอยด์ครอบหรือคลุมกระดูกส่วนที่เฉือนออกไป โดยมีแผ่นโพลีเอทิลีนชนิดพิเศษกั้นระหว่างโลหะ
 

ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  • ลดอาการปวด ความผิดรูป แก้ไขความพิการ หรือความโก่งของเข่า
  • ป้องกันการเสื่อมของข้ออื่นๆ ตามมา
  • แก้ไขอาการข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีอื่นที่ไม่ประสบความสำเร็จ
  • เพิ่มความมั่นคงให้กับข้อเข่า
  • มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

     

หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะกลับมาเดินได้เมื่อไหร่?

     หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ำหนักขาข้างที่ผ่าตัดได้เต็มที่ภายใน 1-2 วัน และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 2 เดือนถึง 6 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคน
 

อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม ยาวนานแค่ไหน?

     อายุการใช้งานของข้อเข่าเทียม ประมาณ 10 – 20 ปี
 

สิ่งที่ควรทำ และ ควรหลีกเลี่ยง หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     ผู้ป่วยสามารถเลือกการออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มสมรรถภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือดและกล้ามเนื้อให้สูงขึ้นได้ เช่น การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น

 

ในส่วนของกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

     ได้แก่ กีฬาที่มีแรงกระแทก รุนแรงต่อข้อเข่า หรือมีการกระโดด เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน การวิ่ง เทนนิส เพราะแรงกระแทกจะทำให้ส่วนที่เป็นพลาสติกโพลีเอทิลีนในข้อเข่าเทียมเสื่อมสภาพเร็วขึ้น หรือแม้แต่การยกของหนักเป็นประจำ รวมถึงกิจกรรมที่มีการพับงอข้อเข่ามากๆ เช่น การนั่งพับเพียบ การนั่งคุกเข่า การนั่งขัดสมาธิ การนั่งยองๆ ในส่วนของห้องน้ำแนะนำว่าควรเปลี่ยนเป็นชักโครกแทนการนั่งยองๆ จะดีที่สุด



“ข้อเข่าและกระดูกในร่างกายของเรามีวันที่จะเสื่อมไปตามอายุและวัยของเรา หากผู้ป่วยมีอาการของภาวะข้อเข่าเสื่อมและยังไม่อยากผ่าตัด ก็สามารถเริ่มดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในระดับที่สมดุล ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เปลี่ยนอิริยาบถอยู่บ่อยๆ หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น รักษาด้วยวิธีไหนๆ ก็ไม่หาย หรือมีความผิดรูปเกิดขึ้นแล้วไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานๆ เพราะการผ่าตัดอาจจะซับซ้อนมากขึ้น และผลลัพธ์หลังการผ่าตัดที่อาจไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมให้เร็วที่สุด ”

 

 

 

 

 

 

 

หากมีคำถามเพิ่มเติมหรือมีความกังวลใดใด โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการตรวจรักษาและดูแลสุขภาพอย่างครบวงจร ให้บริการคครอบคลุม
ทั้งในวินิจฉัยรักษาฟื้นฟู รวมถึงตรวจเพื่อป้องกันโรค และในคำปรึกษาอย่างครบด้าน

 


นัดหมายแพทย์ ติดต่อได้ที่ Tal. 056 000 111 ต่อ 500602 โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมให้บริการทุกวันตั้งแต่ 8.00 – 20.00 น.

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกกระดูกละข้อ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

สถานที่

ชั้น2

เวลาทำการ

จ : 08.00-16.00 ,อ-พฤ : 08.00-20.00 ,ศ : 08.00-17.30 ,ส : 17.00-20.00 ,อา 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510401

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.ธีรภัทร วงศ์ศิริวรรณ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.ณัฐพล เชื้อสำราญ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ - เฉพาะทางเนื้องอกกระดูกและเนื้อเยื้ออ่อน

แผนกโรคกระดูกและข้อ

นพ.วิชัย อารยะถาวร

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

13 กันยายน 2567

ผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก (Hip Arthroplasty)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมคือการผ่าตัดเพื่อนำส่วนของข้อสะโพกเดิมที่เสื่อมสภาพ หัวสะโพกขาดเลือด หรือแตกหักออก และทดแทนข้อใหม่ด้วยข้อสะโพกเทียม

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

13 กันยายน 2567

ผ่าตัดใส่ข้อเทียมบริเวณสะโพก (Hip Arthroplasty)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมคือการผ่าตัดเพื่อนำส่วนของข้อสะโพกเดิมที่เสื่อมสภาพ หัวสะโพกขาดเลือด หรือแตกหักออก และทดแทนข้อใหม่ด้วยข้อสะโพกเทียม

นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล นพ.บดินทร์ เทพปริยะพล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม