Header

อาการที่คุณผู้ชายไม่ควรมองข้าม ต่อมลูกหมากโต

01 กรกฎาคม 2567

อาการที่คุณผู้ชายไม่ควรมองข้าม ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมาก มีหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ โรคต่อมลูกหมากโต (BPH – Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ มักพบในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และโดยเฉพาะในผู้ชายสูงวัยที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปนั้นพบมาก ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโต อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะ คนไข้จึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้

 

โรคต่อมลูกหมากโตสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น

     การเกิดโรคต่อมลูกหมากโตนั้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตนั้นมีอายุราว 60 ปีขึ้นไป แม้ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงชัดว่าโรคต่อมลูกหมากโตจะนำไปสู่โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
แต่อาการของต่อมลูกหมากโตกับมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีความคล้ายกัน และเป็นไปได้ว่าภาวะต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากอาจเกิดขึ้นในขณะเดียวกันได้

 

7 สัญญาณบอกโรคที่เฝ้าระวัง

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือต้องเบ่งปัสสาวะจนกว่าจะออก
  • ปวดปัสสาวะรุนแรงมาก • ปัสสาวะติดขัด
  • ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน
  • ปัสสาวะไม่สุด
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง สะดุดเป็นช่วงๆ มีปัสสาวะหยดเมื่อใกล้จะสุด

 

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

  • แพทย์จะทำการซักประวัติ เพื่อตรวจสอบอาการที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
  • ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจวัดความแรงของสายปัสสาวะ
  • อัลตราซาวนด์ขนาดต่อมลูกหมาก
  • ตรวจคลำต่อมลูกหมากผ่านทางท่อทวารหนัก ดีอาร์อี (Digital Rectal Examination) เพื่อดูความผิดปกติ
  • แพทย์วางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมและครอบคลุมให้ชัดเจนถูกต้อง

 

ต่อมลูกหมากโต รักษาอย่างไรได้บ้าง

     โรคต่อมลูกหมากโตสามารถรักษาให้หายได้ วิธีรักษาแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด ได้แก่

     รักษาด้วยยา ช่วยคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมาก ยาที่ใช้จะเป็นประเภทยาต้านระบบประสาท ที่ช่วยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย 5 อัลฟ่ารีดักเทส (DHT) และมีผลกับขนาดของต่อมลูกหมาก โดยแพทย์จะรักษาตามอาการเป็นหลัก

     ผ่าตัดขูดต่อมลูกหมากออกด้วยการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง มีด้วยกัน 2 แบบ

  • คือรักษาทางศัลยกรรมผ่านกล้องส่องกระเพาะปัสสาวะ TURP (Transurethral Resection of the Prostate) ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบหรือยาชาเฉพาะที่ โดยแพทย์จะใส่กล้องขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายท่อเล็กๆ เรียกว่า resectoscope เข้าไปทางอวัยวะเพศ ผ่านท่อปัสสาวะ และขึ้นไปยังต่อมลูกหมาก จากนั้นแพทย์จะใช้ห่วงไฟฟ้าที่ปลายกล้องตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่มีการอุดตันออกมา แล้วจึงปิดเส้นเลือดกลับดังเดิม โดยล้างทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวเพื่อล้างเอาเนื้อเยื่อออกให้หมด การผ่าตัดด้วยวิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 90 นาที หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 3 วัน และจะต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้
  • การผ่าตัดขูดต่อมลูกหมากโตผ่านกล้องส่องทางท่อปัสสาวะ TURPV (Transurethral Vaporized – Resection of the Prostate) หรือ Plasma Kinetic (PK) เป็นการใช้เครื่องตัดและจี้ด้วยระบบไฟฟ้าประจุคู่ไบโพลาร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษาเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ส่วนที่ถูกตัดและจี้ด้วยไฟฟ้าไม่ให้ไหม้เกรียมมากเกินไป มีระบบช่วยระเหิดเนื้อเยื้อคล้ายคลึงกับการใช้แสงเลเซอร์คือ แวโพไลเซชัน (Vaporization)

 

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหากไม่รีบรักษา

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ปัสสาวะเป็นเลือด เพราะต่อมลูกหมากบวมโต
  • ไตเสื่อม ไตวาย
  • ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อยครั้ง
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ไตเสียหาย เนื่องจากมีปัสสาวะไหลย้อนกลับ
  • ไม่สามารถปัสสาวะได้

     

     ดังนั้นผู้ชายทุกคน ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติขณะถ่ายปัสสาวะแล้ว และเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจระบบทางเดินปัสสาวะกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจหาความเสี่ยง ป้องกัน และหากพบโรคจะได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรค รวมถึงมีภาวะแทรกซ้อนตามมาภายหลัง

 

 

 

  •  
    โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ มีศักยภาพในการผ่าตัดรักษาโรค “ต่อมลูกหมาก” 
    โดย ศัลยแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ในการผ่าตัดรักษา 

     

     

     

    ข้าราชการสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง (คลิก)

         ในการร่วมจ่ายค่าผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ ผู้ที่สามารถใช้สิทธิข้าราชร่วมจ่ายได้

  • ข้าราชการประจำ
  • ลูกจ้างประจำ
  • ผู้รับเบี้ยหวัด
  • ผู้รับบำนาญ 
  • บุคคลในครอบครัวของข้าราชการ (บิดา, มารดา, คู่สมรส และบุตร 3 คน)


     แพ็กเกจเหมาจ่ายผ่าตัดต่อมลูกหมาก

    

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

   

ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

สถานที่

ชั้น2

เวลาทำการ

จ,อ,พ,พฤ,ส : 08.00-20.00 ศ,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510401 ,510402

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

01 กรกฎาคม 2567

ริดสีดวงทวาร รักษาได้ ไม่ต้องทนเจ็บอีกต่อไป

ริดสีดวงทวาร คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักและลำไส้ใหญ่ตรงโป่งพองและอักเสบ มักเกิดจาก

01 กรกฎาคม 2567

ริดสีดวงทวาร รักษาได้ ไม่ต้องทนเจ็บอีกต่อไป

ริดสีดวงทวาร คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักและลำไส้ใหญ่ตรงโป่งพองและอักเสบ มักเกิดจาก

28 มิถุนายน 2567

ฝีคัณฑสูตร รีบรักษาก่อนเรื้อรัง

ฝีคัณฑสูตรอาจเป็นชื่อที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย ฝีคัณฑสูตร คือ การอักเสบและติดเชื้อที่ต่อมไขมันบริเวณทวารหนัก

28 มิถุนายน 2567

ฝีคัณฑสูตร รีบรักษาก่อนเรื้อรัง

ฝีคัณฑสูตรอาจเป็นชื่อที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย ฝีคัณฑสูตร คือ การอักเสบและติดเชื้อที่ต่อมไขมันบริเวณทวารหนัก

27 มิถุนายน 2567

ไส้เลื่อน อันตราย รักษาด้วยการผ่าตัด (Hernia)

โรคที่อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรู หรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อ หรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน

27 มิถุนายน 2567

ไส้เลื่อน อันตราย รักษาด้วยการผ่าตัด (Hernia)

โรคที่อวัยวะภายใน (บางส่วน) เกิดการเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งที่อยู่เดิม ผ่านรู หรือดันตัวผ่านบริเวณกล้ามเนื้อ หรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยาน