Header

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี(แบบผ่านกล้อง)

03 กันยายน 2567

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี(แบบผ่านกล้อง)

นิ่วในถุงน้ำดี แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. นิ่วจากคอเลสเตอรอล (Cholesterol Stones) อาจเป็นสีเหลือง ขาว เขียวเกิดจากการตกตะกอนไขมันเนื่องจากคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในถุงน้ำดี
  2. นิ่วจากเม็ดสี (Pigment Stones) อาจเป็นสีคล้ำดำ เกิดจากความผิดปกติของเลือด โลหิตจาง และตับแข็ง
  3. นิ่วโคลน (Mixed Gallstones) เป็นคล้ายโคลน เหนียว หนืด เกิดจากการติดเชื้อใกล้ตับ ท่อน้ำดี และตับอ่อน
     

อาการนิ่วในถุงน้ำดี มีอะไรบ้าง

     โดยทั่วไปอาการของโรค นิ่วในถุงน้ำดี จะไม่มีความผิดปกติแสดงให้เห็น และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็คร่างกาย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ คล้ายโรคกระเพาะอาหาร หรืออาหารไม่ย่อย

  1. ท้องอืด,ท้องเฟ้อใต้ลิ้นปี่
  2. แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ปวดใต้ลิ้นปี่ / ชายโครงด้านขวา
  4. ปวดร้าวที่ไหล่ / หลังขวา
  5. คลื่นไส้อาเจียน (อาการจากถุงน้ำดีติดเชื้อ)
  6. มีไข้หนาวสั่น
  7. ดีซ่าน / ตัว – ตาเหลือง (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  8. ปัสสาวะสีเข้ม (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)
  9. อุจจาระสีขาว (เมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี)

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด นิ่วในถุงน้ำดี 

     โดยทั่วไปอาการของโรค นิ่วในถุงน้ำดี จะไม่มีความผิดปกติแสดงให้เห็น และมักจะตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็คร่างกาย แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการ คล้ายโรคกระเพาะอาหาร หรืออาหารไม่ย่อย

  1. ความอ้วน ในคนภาวะอ้วนจะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอล เนื่องจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
  2. การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากการรับประทาน หรือการตั้งครรภ์ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
  3. การได้รับยาลดไขมันบางชนิด ส่งผลให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
  4. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  5. การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายละลายไขมันมากไป
     

ใครคือกลุ่มเสี่ยง นิ่วในถุงน้ำดี

  1. ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  4. ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
  5. ผู้ที่ป่วยโรคเบาหวาน
  6. ผู้ป่วย โรคเลือด ธาลัสซีเมีย โลหิตจาง
  7. ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์
  8. ผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ
  9. ผู้ที่ได้รับฮอร์โมนเสริมจากภาวะหมดประจำเดือน
  10. ผู้ที่อดอาหาร (ถือศีลอด) หรือลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว
  11. ผู้ที่ทานยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
  12. ผู้ที่มีพันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี

 

การตรวจวินิจฉัยโรค นิ่วในถุงน้ำดี

     โดยทั่วไปการตรวจวินิจฉัยโรคนิ่วในถุงน้ำดี จะเป็นการการพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยการทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องส่วนบน ซึ่งเป็นการตรวจที่เพียงพอในการตรวจว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่ หรืออาจมีภาวะถุงน้ำดีอักเสบ แต่ในบางกรณี เช่น การตรวจหานิ่วในท่อน้ำดี หรือการวินิจฉัยภาวะตับอ่อนอักเสบ อาจจำเป็นต้องใช้การตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ เช่น การทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (X-ray) หรือ การตรวจโดยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

 

ในผู้ป่วยรายที่สามารถทำการผ่าตัดได้ แนะนำให้ “ผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก” เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และการกลับเป็นซ้ำของโรค “นิ่วในถุงน้ำดี” ซึ่งถือเป็นวิธีการรักษามาตรฐานในการรักษาโรค
 “นิ่วในถุงน้ำดี”โดยการผ่าตัดสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ 

    1. การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ในกรณีที่มีอาการอักเสบมาก หรือมีภาวะเป็นหนอง โดยการเปิดช่องท้องบริเวณใต้ชายโครง
ด้านขวายาวประมาณ 6 – 7 เซนติเมตรโดยเฉลี่ย การผ่าตัดวิธีนี้ผู้ป่วยจะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 4 วันและต้องพักฟื้นหลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์
    2. การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ซึ่งแพทย์จะทำการเจาะรูขนาดเล็กบริเวณหน้าท้อง เพื่อส่องกล้องให้เห็นภาพทุกมิติแล้วจึงตัดขั้วและเลาะถุงน้ำดีให้หลุดออก
การผ่าตัดผ่านกล้องเป็นการผ่าตัดสมัยใหม่ที่ทำให้แผลมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ลดการติดเชื้อ และฟื้นตัวได้เร็ว เมื่อผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไปแล้ว ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับกระบวนการย่อยอาหาร
แต่ควรลดอาหาร ที่มีความมันสูง และรับประทานผักและเนื้อปลามากขึ้นเพื่อให้ห่างไกลจากอาการท้องอืดและมีสุขภาพดีในระยะยาวต่อไป

 

 

 

 

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

สถานที่

ชั้น2

เวลาทำการ

จ,อ,พ,พฤ,ส : 08.00-20.00 ศ,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510401 ,510402

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

03 กันยายน 2567

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดต่อมฝีคัณฑสูตร

ฝีคัณฑสูตรอาจเป็นชื่อที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย โดยฝีคัณฑสูตรจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

03 กันยายน 2567

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดต่อมฝีคัณฑสูตร

ฝีคัณฑสูตรอาจเป็นชื่อที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย โดยฝีคัณฑสูตรจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

03 กันยายน 2567

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารคือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักและลำไส้ใหญ่ตรงโป่งพองและอักเสบ มักเกิดจากความดันในช่องท้องที่สูงขึ้น

03 กันยายน 2567

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงทวารคือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักและลำไส้ใหญ่ตรงโป่งพองและอักเสบ มักเกิดจากความดันในช่องท้องที่สูงขึ้น

03 กันยายน 2567

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดรุนแรงเรื้อรังมานาน และรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด แล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

03 กันยายน 2567

สิทธิข้าราชการ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการปวดรุนแรงเรื้อรังมานาน และรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด แล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม