Header

Cath lab…ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ

21 ตุลาคม 2567

Cath lab…ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ

Cath lab…ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ
 

Cardiac Catheterization Lab หรือ Cath lab คืออะไร ?

    Cath lab เป็นชื่อเรียกง่ายๆ ของห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดอื่นๆ ในร่างกาย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดต่างๆ สามารถใช้ตรวจดูความผิดปกติและประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน รวมถึงการวัดความดันในห้องหัวใจตำแหน่งต่างๆ หากแพทย์ตรวจพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ จะทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด ถ้าตรวจพบว่ามีโรคพิการของหัวใจมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจรั่ว สามารถทำการปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้วยอุปกรณ์ผ่านทางสายสวนหัวใจได้
 

การบริการของห้อง Cath lab

  1. กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ
    - การสวนหัวใจและการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (CAG)
    - การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนและใส่ขดลวดค้ำยัน โดยทำทั้งรอยโรคตีบทั่วไปและรอยโรคตีบที่มีความซับซ้อน ซึ่งรวมถึงรอยโรคที่ตีบสนิท
  2. กลุ่มศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก
    -
    การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบที่ใช้และไม่ใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม (CABG)
    - การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว
  3. กลุ่มระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจ
    - การตรวจสรีวิทยาไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงการรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง
    - การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
    - การใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง ICD
    - การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง CRT
  4. กลุ่มลิ้นหัวใจ
    -
    การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ / ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (Valve Replacement)
    - การใช้สายสวนปิดเส้นเลือด Ductus Arteriosus ซึ่งเชื่อมอยู่ระหว่าง Aorta และ Pulmonary Artery
    - การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
  5. กลุ่มหลอดเลือด
    - การใช้สายสวนรักษาหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองตีบ
    - การใช้สายสวนรักษาบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ
    - การใช้สายสวนรักษาบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขาตีบ
    - เทคโนโลยีการรักษาโดยใช้เทคนิคสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด
    - เปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
    - การรักษาผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว โดยไม่ต้องผ่าตัด


Cath lab ตรวจอะไรบ้าง

  1. Cath lab สามารถดูตำแหน่งผิดปกติและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ ดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การตายของกล้ามเนื้อหัวใจ และการวัดความดันในห้องหัวใจตำแหน่างต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถดูความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ดูการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
  2. Cath lab สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดสมองด้วย เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคสมองขาดเลือด เป็นต้น โดยจะทำการตรวจรักษาด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดสมอง เพื่อดูความผิดปกติตามจุดต่างๆ ซึ่งเป็นการตรวจที่ให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำกว่าการตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องเอกซเรย์

     

ปฏิเสธได้ยากว่า อันตรายจากโรคหลอดเลือดสมองฉับพลันนั้นมีความรุนแรงถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เนื่องจากการใช้ยาละลายลิ่มเลือดยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยบางราย การรักษาด้วยการใส่สายสวนหลอดเลือดเพื่อนำลิ่มเลือดอุดตันในสมองออก และเปิดหลอดเลือดที่อุดตันให้สามารถนำเลือดไปเลี้ยงสมองได้อีกครั้ง ถือเป็นอีกหนึ่งทางรอดของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้

 

ใครที่จำเป็นต้องรับการใส่สายสวนรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

  • ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำแล้ว แต่ยังมีอาการผิดปกติ และหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่มีลิ่มเลือดอุดตันอยู่
  • ผู้ที่มีข้อห้ามของการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ หรือมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่มีลิ่มเลือดสมองอุดตันอยู่
  • ผู้ที่มีหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่อุดตันระยะเฉียบพลัน และมีอาการนานกว่า 5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อเลือดออกผิดปกติ หากได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่มีลิ่มเลือดอุดตันระยะเฉียบพลัน
  • ผู้ป่วยที่ไม่มีตำแหน่งที่เส้นเลือดอุดตันคดเคี้ยวมากจนเกินไป
     

การเปลี่ยนแปลงหลังได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดสมอง

     ความผิดปกติทางระบบประสาทจะกลับมาเป็นปกติหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนได้รับการรักษา ขนาดของตำแหน่งเนื้อสมองที่ขาดเลือดแต่ยังไม่ตาย ขนาดพื้นที่ของเนื้อสมองที่เสียหาย อายุของผู้ป่วย ภาวะที่มีหลอดเลือดข้างเคียงมาช่วยเลี้ยงบริเวณเนื้อสมองที่ขาดเลือด โรคประจำตัวของผู้ป่วย เป็นต้น
 

ข้อดีของการรักษาโรคหลอดเลือดสมองด้วยวิธีการใส่สายสวน

  • ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมองเส้นใหญ่
  • ลดอัตราความพิการ และอัตราการเสียชีวิต
  • ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดด้วยวิธีการแบบเปิดกะโหลก
     

เมื่อใดจึงควรมาตรวจ Cath lab

     เมื่อเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน สาเหตุเกิดจากเลือดไปเลี้ยงที่หัวใจไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บบริเวณหน้าอกมากกว่า 5 นาที และเหนื่อยง่าย แต่การตรวจ Cath lab จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของคนที่เป็นโรคหัวใจ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตอย่างฉับพลันจากโรคหัวใจ
 

วิธีการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) คืออะไร?

     วิธีการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization) คือ การสอดสายขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร สวนผ่านเข้าไปทางหลอดเลือดแดงที่บริเวณปลายขาหนีบหรือข้อมือ จนปลายสายเข้าไปถึงบริเวณหลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นจะทำการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจและทำการเอกซเรย์ด้วยความเร็วสูง ทำการบันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นและนำข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ไปใช้ในการวินิจฉัยโรคต่อไป ในการสวนหัวใจแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งผู้ป่วยสามารถมั่นใจได้ว่าปลอดภัย เพราะดำเนินการโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจโดยเฉพาะ สำหรับข้อดีของการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีนี้ คือ ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้คนไข้เจ็บตัวน้อย สามารถฟื้นตัวได้เร็วและกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
 

เมื่อใด...ถึงควรจะทำการสวนหัวใจ

สำหรับผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยและจะพิจารณาให้สวนหัวใจ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอกฉับพลัน หรือสงสัยว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน โดยจะทำการวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย หากมีอาการภายใน 1 เดือน ร่วมกับมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ อัลตราซาวด์หัวใจแล้วสงสัยว่ามีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบฉับพลัน ต้องทำการสวนหัวใจภายใน 24 – 48 ชั่วโมง หรือเร็วกว่าขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
  • กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่มีประวัติแน่นหน้าอกมานานหรือมีอาการเหนื่อยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการใจสั่น หน้ามืด ผู้ป่วยกลุ่มนี้แพทย์อาจจะพิจารณาวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการวิ่งสายพาน มีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อนหรืออัลตราซาวด์หัวใจ แล้วพบความผิดปกติ แพทย์ก็จะนัดให้เข้ารับการสวนหลอดเลือดหัวใจต่อไป

     

     

     

    “ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ (New Cath lab)
    โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ พร้อมเปิดให้บริการแก่ผู้รับบริการทุกท่าน เร็วๆนี้”



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกหัวใจและหลอดเลือด

แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

ชั้น1

เวลาทำการ

จ,พฤ,ศ : 17.00-20.00 ,อ,พ : 17.00-19.00 ส,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510211

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

28 ตุลาคม 2567

ลดเสี่ยง! ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำ CTA Coronary Artery

ปัจจุบันโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และผู้ป่วยมีแนวโน้มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง แม้แต่นักกีฬาที่ถือว่าเป็นบุคคลที่แข็งแรงก็ยังเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ

28 ตุลาคม 2567

ลดเสี่ยง! ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำ CTA Coronary Artery

ปัจจุบันโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และผู้ป่วยมีแนวโน้มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง แม้แต่นักกีฬาที่ถือว่าเป็นบุคคลที่แข็งแรงก็ยังเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ

28 ตุลาคม 2567

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วย EST กับ Echo ต่างกันอย่างไร?

หัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา และยังมีผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายด้วย ฉะนั้นการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ..

28 ตุลาคม 2567

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วย EST กับ Echo ต่างกันอย่างไร?

หัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา และยังมีผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายด้วย ฉะนั้นการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ..

23 ตุลาคม 2567

สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เกิดจากหลอดเลือดอดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรอมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปรืมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย

23 ตุลาคม 2567

สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เกิดจากหลอดเลือดอดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรอมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปรืมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย