Header

สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

23 ตุลาคม 2567

สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ!

     หากพูดถึงสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคงมี “โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด” ติดโผมาด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 พบว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนี้จัดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 4 ของประชากรไทย รองมาจากดรคมะเร็งและอุบัติเหตุ โดยแท้จริงแล้วสาเหตุเกือบทั้งหมดของโรคนี้ เกิดมาจากการที่ผู้ป่วยมีหลอดเลือดหัวใจตีบนั่นเอง
 

สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน

     โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เกิดจากหลอดเลือดอดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรอมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
 

สัญญาณอันตรายจากภาวะหัวใจขาดเลือด

  1. เจ็บหน้าอกหนักแน่นกลางอก เหมือนมีของหนักทับ เหงื่อแตกโชก เจ็บร้าว ชาไปที่กราม ขากรรไกร หน้าใบหูทั้งสองข้าง ร้าวไปที่ไหล่ซ้าย อาการนี้มักเป็นเมื่อออกแรงและดีขึ้นเมื่อหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกจะมากและบ่อยขึ้น ซึ่งระยะนี้ถ้าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) จะมีอาการผิดปกติ
  2. อาการอื่นที่อาจเป็นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น เป็นลักษณะเฉพาะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นผลจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ
     

อาการของภาวะหัวใจขาดเลือด จากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

  • รู้สึกเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหว แน่นหน้าอกจนหายใจไม่ออก มักเป็นที่ลิ้นปี่ หน้าอกตรงกลางหรือร้าวไปหน้าอกซ้าย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย
  • บางรายพบว่ามีอาการใจสั่น เหงื่อแตกร่วมด้วย
  • วูบ หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตเฉียบพลัน
     

สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • อายุมากขึ้น
  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง ระดับไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหตสูง
  • ภาวะอ้วน
  • การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • มีภาวะเครียดหรือใช้ชีวิตภายใต้สถานการณ์ตึงเครียดเป็นประจำ
  • ขาดการออกกำลังกาย
     

การตรวจวินิจฉัย...หลอดเลือดหัวใจตีบ

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อหัวใจ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) ใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่ตรวจไม่พบในขณะที่ร่างกายหยุดพักหรือไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก

  • การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) จะใช้อุปกรณ์ที่คล้ายเครื่องอัลตราซาวด์ตรวจบริเวณหน้าอก และใช้เสียงสะท้อนความถี่สูงเพื่อจำลองภาพ ขนาด และการทำงานของหัวใจ
  • การตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือด โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) และคำนวณหสปริมารแคลเซียมที่เกาะภายในผนังหลอดเลือดแดงและสามารถบอกปริมาณหินปนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ เพื่อใช้บ่งชี้แนวโน้มถึงโอกาสในการที่จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที

  • การฉีดสีสวนหัวใจ จะเป็นขั้นตอนตรวจลำดับสุดท้าย หากพบความผิดปกติของหลอดเลือดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวนหัวใจ แพทย์จะทำการใส่สายสวนหัวใจ เพื่อทำการขยายหลอดเลือดที่ตีบแคบด้วยบอลลูนหัวใจและขดลวดถ่างขยายได้ในทันที
     

เพราะหัวใจที่แข็งแรง...คือก้าวแรกของการห่างไกลโรคหัวใจ

     โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือด เช่น การงดสูบบุหรี่ เลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพิ่มการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

 

ควรระวังและดูแลสุขภาพอย่างเต็มที่เพื่อลดความสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ รวมถึงการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ลดความเครียด และควบคุมปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น น้ำหนัก และความดันโลหิต
 

 


 

“หากคุณหรือบุคคลในครอบครัวของคุณมีอาการเสี่ยงหรือเป็นโรคหัวใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและประเมินสุขภาพของหัวใจอย่างถูกวิธีหากมีคำถามหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา
ต้องการปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ  พร้อมดูแล ติดต่อ 056 000 111 ต่อ 510211”
 

 

 

ขอคำปรึกษา คลิก



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกหัวใจและหลอดเลือด

แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

ชั้น1

เวลาทำการ

จ,พฤ,ศ : 17.00-20.00 ,อ,พ : 17.00-19.00 ส,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510211

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

28 ตุลาคม 2567

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วย EST กับ Echo ต่างกันอย่างไร?

หัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา และยังมีผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายด้วย ฉะนั้นการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ..

28 ตุลาคม 2567

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วย EST กับ Echo ต่างกันอย่างไร?

หัวใจ เป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา และยังมีผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายด้วย ฉะนั้นการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ..

21 ตุลาคม 2567

Cath lab…ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ

Cath lab เป็นชื่อเรียกง่ายๆ ของห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดอื่นๆ ในร่างกาย

21 ตุลาคม 2567

Cath lab…ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ

Cath lab เป็นชื่อเรียกง่ายๆ ของห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดอื่นๆ ในร่างกาย

28 ตุลาคม 2567

ลดเสี่ยง! ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำ CTA Coronary Artery

ปัจจุบันโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และผู้ป่วยมีแนวโน้มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง แม้แต่นักกีฬาที่ถือว่าเป็นบุคคลที่แข็งแรงก็ยังเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ

28 ตุลาคม 2567

ลดเสี่ยง! ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำ CTA Coronary Artery

ปัจจุบันโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และผู้ป่วยมีแนวโน้มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง แม้แต่นักกีฬาที่ถือว่าเป็นบุคคลที่แข็งแรงก็ยังเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ