Header

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วย EST กับ Echo ต่างกันอย่างไร?

28 ตุลาคม 2567

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วย EST กับ Echo ต่างกันอย่างไร?

การตรวจสุขภาพหัวใจ “EST” กับ “Echo” แบบไหนที่จะเหมาะกับคุณ

     “หัวใจ” เป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลา และยังมีผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายด้วย ฉะนั้นการตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะเหมาะกับการตรวจแบบไหน ระหว่างการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echo) กับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะเดินสายพาน (EST) ต้องมาดูกันก่อนว่า การตรวจ 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร? และให้ผลแบบใด?
 

หลักการทำงานและสิ่งที่ตรวจพบได้

  • EST (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะทำงานหนัก โดยใช้หลักการกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นเหมือนการออกกำลังกาย การตรวจด้วยวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ดี หากผู้ป่วยม่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบอยู่จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ มีผลให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แสดงออกมานั้นผิดปกติ
  • Echo (Echocardiogram) เป็นการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง เพื่อตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ โดยใช้การสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ถูกปล่อยออกมาจากหัวตรวจส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่างๆ ก็จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ คอมพิวเตอร์จะนำสัญญาณเหล่านี้มาแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การเกิดลิ่มเลือดหัวใจและตำแหน่งหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้าและออกจากหัวใจ
     

การตรวจสุขภาพหัวใจแบบไหน เหมาะกับใคร

  • EST (Exercise Stress Test) เหมาะกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ทั้งที่ไม่มีและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกบ่อยๆ จากการออกแรงหรือออกกำลังกาย
  • Echo (Echocardiogram) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
     

ขั้นตอนการตรวจสุขภาพหัวใจ

  • EST (Exercise Stress Test) เจ้าหน้าที่จะติดอุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ จากนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะเริ่มเดินช้าๆ บนเครื่องเดินสายพาน และค่อยๆ เพื่มความเร็วและความชันของสายพาน โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ในระหว่างนั้นจะมีการวัดความดันโลหิตเป็นระยะๆ หากผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะหัวใจขาดเลือดจะส่งผลให้คลื่นไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป เมื่อได้รับข้อมูลเพียงพอในการวินิจฉัยแล้วแพทย์จะให้หยุดการเดินบนสายพาน
  • Echo (Echocardiogram) ผู้เข้ารับการตรวจนอนบนเตียงราบ เจ้าหน้าที่ทำการติดอุปกรณ์แผ่นคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณทรวงอกเพื่อเฝ้าสังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และดูอัตราการเต้นของหัวใจ จากนะเนแพทย์จะใช้หัวตรวจใส่เจลและถูตรวจบริเวณหน้าอกและใต้ราวนม ใช้เวลาในการตรวจ 20-45 นาที ระหว่างการตรวจผู้รับการตรวจจะไม่รู้สึกเจ็บ
     

ข้อจำกัดในการตรวจ

  • EST (Exercise Stress Test) ไม่สามารถเห็นโครงสร้างของหัวใจได้ ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อต่างๆ และผู้ที่มีอายุมาก
  • Echo (Echocardiogram) ดูได้เฉพาะโครงสร้างหัวใจ แต่จะไม่เห็นเส้นเลือดหัวใจ และอาจมองเห็นไม่ชัดเจนในผู้ที่อ้วนมาก เพราะไขมันอาจขัดขวางคลื่นความถี่สูง


     

ตารางสรุปเทียบความแตกต่างของการตรวจสุขภาพหัวใจ

ความแตกต่าง EST
(Exercise Stress Test)
Echo
(Echocardiogram)
หลักการทำงาน กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหมือนการออกกำลังกาย ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
เหมาะกับใคร ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการแน่นหน้าอกเวลาออกแรง หรือผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกจากการออกกำลังกาย ผู้ที่มีอาการบวมและหอบเหนื่อย เสี่ยงต่อโรคหัวใจ หรือผู้ที่ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัย
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบหรือตัน
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • โรคหัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ
  • โรคของเยื่อหุ้มหัวใจ
ขั้นตอนการตรวจ เดินหรือวิ่งบนสายพานที่ค่อยๆเพิ่มระดับความเร็ว นอนบนเตียงราบ จรวจบริเวณทรวงอกด้านนอก
ข้อจำกัด ไม่สามารถเห็นโครงสร้างของหัวใจได้ ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ดูได้เฉพาะโครงสร้างหัวใจ แต่จะไม่เห็นเส้นเลือดหัวใจ

 

 


 

“หากคุณหรือบุคคลในครอบครัวของคุณมีอาการเสี่ยงหรือเป็นโรคหัวใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและประเมินสุขภาพของหัวใจอย่างถูกวิธีหากมีคำถามหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา
ต้องการปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ  พร้อมดูแล ติดต่อ 056 000 111 ต่อ 510211”
 

 

 

ขอคำปรึกษา คลิก



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกหัวใจและหลอดเลือด

แผนกโรคหัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

ชั้น1

เวลาทำการ

จ,พฤ,ศ : 17.00-20.00 ,อ,พ : 17.00-19.00 ส,อา : 08.00-17.00

เบอร์ติดต่อ

(056) 000 111 ต่อ 510211

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

23 ตุลาคม 2567

สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เกิดจากหลอดเลือดอดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรอมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปรืมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย

23 ตุลาคม 2567

สัญญาณอันตราย...โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เกิดจากหลอดเลือดอดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรอมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปรืมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย

21 ตุลาคม 2567

Cath lab…ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ

Cath lab เป็นชื่อเรียกง่ายๆ ของห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดอื่นๆ ในร่างกาย

21 ตุลาคม 2567

Cath lab…ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ

Cath lab เป็นชื่อเรียกง่ายๆ ของห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ ซึ่งเป็นห้องที่มีประสิทธิภาพในการประมวลภาพของหลอดเลือดหัวใจหรือหลอดเลือดอื่นๆ ในร่างกาย

28 ตุลาคม 2567

ลดเสี่ยง! ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำ CTA Coronary Artery

ปัจจุบันโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และผู้ป่วยมีแนวโน้มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง แม้แต่นักกีฬาที่ถือว่าเป็นบุคคลที่แข็งแรงก็ยังเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ

28 ตุลาคม 2567

ลดเสี่ยง! ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการทำ CTA Coronary Artery

ปัจจุบันโรคหัวใจคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับต้นๆ และผู้ป่วยมีแนวโน้มมีอายุเฉลี่ยน้อยลง แม้แต่นักกีฬาที่ถือว่าเป็นบุคคลที่แข็งแรงก็ยังเคยได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆ